ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    026716 สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนิติกรใหม่27 กุมภาพันธ์ 2551

    คำถาม
    สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

    เรียน อาจารย์มีชัย

            อาจารย์มีชัยครับ กระผมมีปํญหาเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาครับ พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ 2546 มิได้บัญญัติการเป็นบุคคลล้มละลายเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้จะขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแต่อย่างใด แต่บัญญัติว่าเป็นผู้มีพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศิลธรรมอันดี เป็นลักษณะต้องห้าม

             กระผมจึงเรียนถามว่า เช่นนี้ เมื่อบุคคลล้มละลายมาขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมนี้ สภาครูฯ (1) จะอ้างความเป็นบุคคลล้มละลายมาเป็นข้อจำกัด ไม่ได้เพราะตามมาตรา ๒๙ แห่งรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิต้องมีกฎหมายให้อำนาจ และภายในขอบเขตที่กำหนดกำหนด (2) และจะอ้างว่าการเป็นบุคคลล้มละลายถือเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีไม่ได้ด้วยใช่หรือไม่ เพราะถือว่าการเป็นบุคคลล้มละลายเป็นฐานะทางเศรษกิจและสังคม จะนำมาออกกฎหมาย หรือกฏเพื่อเลือกปฏิบัติ ตามมาตรา ๓๐ แห่งรัฐธรรมนูญ (3) ไม่น่าจะได้เป็นการตีความไปในสิ่งที่กฎหมายไม่ประสงค์เพราะกฎหมายของสภาวิชาชีพบางองค์กรและกฎหมายอื่นๆทั่วไป บัญญัติถึงกรณีล้มละลาย และมีความประพฤติเสื่อมเสียฯ เป็นลักษณะต้องห้าม หากมีความหมายเป็นอย่างเดียวกันก็คงไม่เขียนไว้ถึงสองอย่าง

      กราบขอบพระคุณครับ

    คำตอบ

    1. ก็ยังงั้นซี

    2. ก็ใช่แล้ว

    3. ถึงว่าซี


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 กุมภาพันธ์ 2551