ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    027947 วิธีพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวคนซื่อ7 พฤษภาคม 2551

    คำถาม
    วิธีพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว

    เรียน ท่านอาจารย์

           วันนี้ดิฉันขอเรียนปรึกษาท่านดังนี้  ดิฉันและสามีจดทะเบียนสมรสกันประกอบธุรกิจในอาคารเดียวกันแต่แบ่งชั้นทำงาน สามีดูแลลูกค้าเพื่อส่งเอกสารให้ดิฉันทำงานให้ลูกค้า สินทรัพย์ที่เป็นชื่อสามีที่ใช้ประกอบธุรกิจคือยานพาหนะราคา 650,000 บาท ส่วนสินทรัพย์ที่เป็นชื่อดิฉันคือที่ดินและอาคาร ราคา 4,200,000 บาท ติดจำนอง 2,500,000 บาท จะพิจารณาอย่างไรว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะดิฉันและสามีถูกฟ้องล้มละลายด้วยมูลหนี้ 1,500,000 บาท  จึงเรียนถามว่ามีวิธีคำนวณแบบไหน

           1. รวมสินทรัพย์สามีภรรยา 650,0000 +4,200,000 หักด้วยภาระหนี้ 2,500,000 บาท เหลือสินทรัพย์ 2,350,000 บาท มากกว่า มูลหนี้ที่ถูกฟ้อง1,500,000   หรือ

           2. แยกสินทรัพย์สามีภรรยาแล้วต่างฝ่ายต่างรับภาระหนี้ที่ถูกฟ้องมากลายเป็นหนี้คนละ 1,500,000 บาท  ซึ่งจะเหลือสินทรัพย์ แบ่งครึ่งได้คนละ1,175,000 บาท น้อยกว่ามูลนี้ที่จะให้ชำระ 1,500,000 บาท ต้องล้มละลาย

           3. ค่าความนิยมในตัวของสามี พิสูจน์ได้จากใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายรักษาสุขภาพเป็นล้านบาทในเดือนเดียว หรือโล่ห์รางวัลที่ได้รับเนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนกีฬาดีเด่น  สามารถนำมาอ้างถึงความสามารถในการชำระหนี้ได้หรือไม่

            ขอขอบพระคุณท่านที่ให้ความรู้และขออาราธนาคุณพระดลบรรดาลให้ท่านสุขภาพแข็งแรง

            ขอบคุณค่ะ

                   

    คำตอบ

    เรียน คนซื่อ

        หลักมีอยู่ว่า การที่บุคคลจะถูกฟ้องล้มละลายได้ต้องเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว และมีหนี้ถึงจำนวนที่กฎหมายกำหนด  การที่จะถือว่าเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นโดยทั่วไปก็ได้แก่การที่มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน และไม่มีรายได้ที่จะแสดงให้เห็นว่าสามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนั้นมีบางกรณีที่กฎหมายจะสันนิษฐานว่าเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ ของกฎหมายล้มละลาย ดังนี้

    มาตรา ๘  ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
    (๑) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อ
    ประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
    (๒) ถ้าลูกหนี้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไปโดยการแสดงเจตนาลวง หรือ
    โดยการฉ้อฉล ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
    (๓) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
    ขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ ไม่ว่าได้กระทำ
    การนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
    (๔) ถ้าลูกหนี้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เพื่อประวิงการชำระหนี้
    หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
        ก. ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอก
    ราชอาณาจักร
        ข. ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน หรือหลบไป
    หรือวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ
        ค. ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาจศาล
        ง. ยอมตนให้ต้องคำพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำระ
    (๕) ถ้าลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่ง
    อย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
    (๖) ถ้าลูกหนี้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
    (๗) ถ้าลูกหนี้แจ้งให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดของตนทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
    (๘) ถ้าลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
    (๙) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า
    สองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ชำระหนี้

    มาตรา ๙* เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
    (๑) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
                  *(๒) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือ
    หลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้
    ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ
    (๓) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระ
    โดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม

        กรณีของคุณ ลองปรึกษาทนายความดูเถอะ บางทีก็อาจมีทางต่อสู้ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 พฤษภาคม 2551