ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    033896 ถูกฟ้องล้มละลายข้าราชการผู้น้อย25 กุมภาพันธ์ 2552

    คำถาม
    ถูกฟ้องล้มละลาย

    เมื่อปี 2538 น้องสาวซื้อคอนโดแต่กู้คนเดียวไม่ผ่านจึงได้มาให้กู้ร่วมซึ่งขณะนั้นตัวเองทำงานบริษัท และไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในคอนโด  ต่อมาน้องสาวผ่อนไม่ไหวปล่อยให้ถูกยึดขายทอดตลาดเมื่อ ปี 2549 แต่ได้เงินมาไม่ครบและก็ไม่ได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ ต่อมาเมื่อ 14 ก.พ 52 ได้รับหมายศาลถูกฟ้องล้มละลายทั้ง 2 คน โดยมีหนี้เป็นเงินต้น 696,927.11  ดอกเบี้ย 1,364,915 บาท รวม 2,061843 บาท และต้องขึ้นศาล 29 เม.ย 52   ตอนนี้ดิฉันรับราชการระดับ 5 เงินเดือน 11,930 บาท มีลูก 2 คน อายุ 9 ปีและ 6 ปี และสามีพึ่งจะเสียชีวิตเมื่อ พย.51 ต้องรับผิดชอบครอบครัวซึ่งถ้าถูกฟ้องล้มละลายต้องแย่ ดิฉันขอเรียนถามว่าจะสามารถประนอมหนี้ได้หรือไม่ 2.ดิฉันควรติดต่อเจ้าหนี้ก่อนวันขึ้นศาลหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องขอประนอมหนี้ 3. ศาลจะพิจารณาให้ความช่วยเหลืออย่างไรบ้างกรณีนี้  4. ดิฉันควรจะคุยกับเจ้าหนี้หรือศาลอย่างไรในกรณีขอความเห็นใจ

     

    คำตอบ

    1. การประนอมหนี้ย่อมทำได้เสมอถ้าเจ้าหนี้เขายอมรับการประนอมนั้น

    2. ก็ควรอยู่จะได้รู้ถึงทีท่าของเจ้าหนี้

    3. ศาลไม่มีหน้าที่ช่วยเหลือคู่กรณี เพราะศาลก็ต้องว่าไปตามพยานหลักฐาน

    4. ก็ต้องลองเจรจากับเพื่อให้โอกาสในการผ่อนส่ง  

        เรื่องที่เกิดขึ้น เพราะคุณให้ความสำคัญกับการเป็นลงชื่อเป็นลูกหนี้ร่วมน้อยเกินไป โดยไม่ได้คิดว่าการไปเป็นลูกหนี้ร่วมเพื่อช่วยเหลือคนอื่นนั้น แท้ที่จริงคุณก็คือลูกหนี้ตัวจริงด้วย และเมื่อเขาไม่สามารถผ่อนส่งได้ คุณก็เฉยเสียไม่ได้นึกว่าตัวเองเป็นลูกหนี้ด้วย  ไปนึกเอาเองว่าเมื่อเงียบไปก็คงจบไป  ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างรุนแรง เพราะไม่มีเจ้าหนี้ที่ไหนเขาจะปล่อยเฉยหรอก  การที่เขาเงียบไปควรจะต้องเริ่มรู้สึกตัวว่าในระหว่างนั้นดอกเบี้ยมหาโหดจะเดินหน้าอยู่เรื่อยไป  ดังจะเห็นได้ว่าเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเงินถึงกว่าสองเท่าของหนี้จริง ทั้งหมดเกิดจากความไม่ให้ความสนใจเพียงพอ  ดังนั้นเมื่อถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยให้ซ้ำรอยอีก


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 กุมภาพันธ์ 2552