ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047266 รับาลควรรับผิดชอบชาวนา21 มิถุนายน 2555

    คำถาม
    รับาลควรรับผิดชอบ

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัยด้วยความเคารพ       

            ปี 49ข้าพเจ้าซื้อที่นา ตามที่ระบุในโฉนด  12 ไร่ 3 งาน จากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี   หลังจากชื้อแล้ว ปี 50 จึงให้ที่ที่ดินไปรังวัดสอบเขต(ครั้งที่ 1) ปรากฎเนื้อที่ดินเหลือ 10 ไร่ เพราะปี 2545 เทศบาล กำนัน และกรมชลประทาน  ขุดลอกคลอง และถมคันดินรุกล้ำเข้าไปในที่นา ไม่มีค่าเวนคืน ปี51 ข้าพเจ้าจึงขุดที่นา ริมคันคลองเป็นคูระบายน้ำ และขุดริมคันคลองที่รุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่นาบางส่วนโดยนำดินที่ขุดคูนาโปะลงบนคันคลอง   เทศบาลให้ที่ดินมารังวัดสอบเขตคันคลองพิพาท (เป็นการรังวัดสอบแนวเขตครั้งที่ 2) ให้กำนันไปชี้แนวเขต  กำนันไป  แต่ไม่ชี้  ข้าพเจ้าชี้ฝ่ายเดียว  แต่กำนันไม่ลงชื่อ ไม่ยอมรับการรังวัดสอบเขต  อ้างเหตผลว่าไม่ได้ร่วมชี้แนวเขต 

            เทศบาลฟ้องอาญา ว่าข้าพเจ้า  บุกรุกคันคลองสาธารณะ  ศาลสั่งให้สอบเขตคันคลองพิพาทใหม่  (ครั้งที่ 3) แต่การพิจารณาไต่สาน  ทนายจำเลยไม่ได้นำประเด็นการรังวัดสอบเขตครั้งที่ 3  ไปต่อสู้ เบิกความ  ว่าการรังวัดสอบเขตตามที่ศาลชั้นต้นให้ดำเนินการ  ได้เนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน  76 ตารางวา 

                สู้ถึงศาลอุธร  พิพากษาปรับ 10000 บาท จำคุก 2 ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญา ห้ามทำผิดกรณีนี้อีก ให้ข้าพเจ้าและบริวารออกไปจากคันคลอง ...ต่อมา ปี 55 เทศบาลจะให้ข้าพเจ้าถมคันคลองให้เหมือนเดิม ข้าพเจ้ากลัวถูกกลั่นแกล้ง หากถมคันคลอง  จะถุกตั้งข้อหาทำเกินที่ศาลสั่ง  ถูกฟ้องศาล  และคงถูกลงโทษจำคุก

             เป็นความทุกข์ของข้าพเจ้า   ซื้อนาไม่ได้ที่ครบตามโนด  เพราะชลประทานขุดลอกคลองรุกล้ำที่นา  และข้าพเจ้าถูกศาลอุธรณ์ รอลงอาญา 2 ปี

             ขออนุญาตกราบเรียนถามอาจารย์ดังนี้ ครับ

      1.ถ้าข้าพเจ้ามีสิทธ์ดำเนินการฟ้องร้องเทศบาล กำนัน และชลประทาน ข้อหาบุกรุกละเมิด  ได้หรือไม่

      2. การบุกรุก  ละเมิดสิทธ์  มีระยะเวลาหมดอายุความหรือไม่ 

     3. เหตุผล   3.1 เจ้าของที่นาในฐานะพยานโจทย์ เบิกความยืนยันว่ายกคันนาซึ่งอยู่นอกโฉนดที่นา 12 ไร่ 3 งาน (ซึ่งเดิมกว้างเพียง 1 วา)ให้เป็นคันคลองสาธารณะ  ไม่ได้ยกที่นาให้แต่อย่างใด และในขณะที่ยกให้ โฉดติดจำนองกับบริษัทหลักทรัพย์ 

                    3.2 กำนันเบิกความว่าข้าพเจ้า(จำเลย)บุกรุกไปเท่าใดไม่ทราบ เพียงแต่ประเมินด้วยสายตาเท่านั้น 

                    3.3  นายกเทศบาลเบิกความว่าบุกรุกไปเท่าใดไม่ทราบ  เพียงแต่รับฟังข้อมูลจากช่างเทศบาลเท่านั้น 

                     อาจารย์ครับ  ผมเคยอ่านหนังสือบทความจากท่านผู้รู้ เจอข้อความบทหนึ่งว่า "การที่รัฐ  ออกหลักฐานในการครอบครองที่ดิน  ให้เป็นโนดที่ดิน  เพราะดินเป็นทรัพย์สินที่มีค่า  บรรพบุรุษขวานขวายซื้อหามาด้วยความยากลำบาก  เพื่อให้บรรพบุรุษเก็บไว้เป็นมรดกให้บุตรหลาน  ยิ่งนานไป ยิ่งมีค่ามากขึ้น   ... อีกประการหนึ่งเพื่อให้ใช้ประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตนเอง เลี้ยงครอบครัว เวลาขัดสน อับจน  อาจนำที่ดินไปจำนอง หรือขายเป็นเงินได้ ...

                      การที่รัฐออกหลักฐานโนดที่ดินให้ราษฎร  เพื่อเป็นการป้องกันการพิพาท  ละเมิด  บุกรุก  เกิดคดีความระหว่างราษฎร กับราษฎร  ระหว่างราฎรกับรัฐ  หรือระหว่างรัฐกับราษฎร    ...  มีไม่น้อยที่ราษฎรผู้ยากไร้  ขาดความรู้เรื่องกฎหมาย  ถูกคนของรัฐ(บางคน) ที่ขาดคุณธรรม  กลั่นแกล้ง  โปรดกรุณาชี้แนะทางออกให้ราษฎร  เพื่อเป็นกุศล  เป็นความรู้  เป้นประสบการณ์ เป็นวิทยาทานกับราษฎรที่ประสบเคราะห์ กรรมทั้งหลายด้วย 

                      กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพ 

            

    คำตอบ
    เมื่อรัฐบาลออกโฉนดให้ใครแล้ว ก็รับรองและรับรู้ในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของผู้นั้น แต่เป็นสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของที่จะปกป้องดูแลไม่ให้ใครมารุกล้ำหรือแย่งไป ถ้ามีคนมาแย่งไปหรือรุกล้ำ แล้วเฉยเสีย จนครบ ๑๐ ปี อีกฝ่ายหนึ่งก็อาจได้กรรมสิทธิ์ไปได้  รัฐไม่มีทางไปคอยดูแลทรัพย์สินให้ใคร  ในเวลาที่เกิดข้อพิพาทกัน ต่างฝ่ายต่างก็ต้องหาทนายความไปดำเนินคดีกัน สำหรับหน่วยงานของรัฐเขามีอัยการคอยดำเนินการให้ หรือถ้าไม่ใช้อัยการ ก็มีเงินไปจ้างทนายความดำเนินการให้ แต่ราษฎรนั้น ถ้าไม่รู้กฎหมายก็ต้องขวนขวายหาทนายความไปดำเนินการฟ้องร้องหรือสู้คดีให้ มิฉะนั้น ก็อาจแพ้คดีในศาลได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 มิถุนายน 2555