ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047726 อบต.ทำเกินคำพิพากษาจำเลย27 สิงหาคม 2555

    คำถาม
    อบต.ทำเกินคำพิพากษา

    กราบเรียนอาจารย์มีชัยด้วยความเคารพ

                  คำถามนี้น่าจะเป็นความรู้กับอีกหลาย ๆ ท่านที่สนใจ  ผมเคยกราบเรียนขอคำแนะนำจากท่านหลายครั้ง  ผ่านอีเมลล์นี้  ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยมีความรู้ด้านกฎหมายทั่ว ๆ ไปเลย    ไม่คิดว่าในชีวิตจะต้องตกเป็นจำเลยกรณีถูกฟ้องร้องว่าบุกรุกคันคลองสาธารณะ  ด้วยความอยากได้ที่ดิน (ที่นา)  ไว้ทำกินในวัยเกษียณ  และไว้เป็นสมบัติให้ลุกหลานในอนาคต   อุตส่าห์กู้เงิน  เพื่อซื้อที่ดินจากกรมบังคับคดี จากการประกาศขายทอดตลาด   เจ้าของเดิมนำโฉนดเนื้อที่ 12 ไร่ 2งาน 80 ตารางวา  มีด้านหนึ่งติดคันคลองสาธารณะ   เจ้าของนำโฉนดไปจำนองกับบริษัทเงินทุนตั้งแต่ ปี 2534  ขาดการส่งเงินต้นและดอกเบี้ย   จนปี 2549  จึงถูกศาลสั่งขายทอดตลาด    ผมเห็นที่นาแปลงนี้มา ตั้งแต่ ปี 2523  และที่นาแปลงนี้  อยู่ติดกับที่นาภรรยาของผม  ซึ่ง อบต. ทำโครงการให้กรมชลประทาน  ขโมยขุดขุดบุกรุกที่นาที่มีร่องน้ำของชาวบ้าน  หรือทางน้ำไหลผ่านให้กลายเป็นคลอง  ในปี 2554    

              ผมไปประมูลซื้อที่ดินแปลงนี้   ในปี 2549  ต่อมาปี 2551จึงให้ที่ดินไปรังวัดสอบเขตเนื้อที่12 ไร่ 2 งาน 810 ตารางวา  ผลการรังวัดสอบเขตปรากฎว่า  เนื้อที่เหลือ 10 ไร่เศษ  เพราะในปี 2545  อบต. ขุดลอกคลอง  และถมดิน  ทำคันดินบุกรุกเข้าไปในที่นาแปลงนี้ (และอีกทุกแปลง  และขุดบุกรุกที่นาชาวบ้านที่มีทางน้ำไหลผ่านอีกหลายราย  ให้กลายเป็นคลอง  ผมจึงขอยกเลิกการรังวัดสอบเขต  เพราะถ้าไม่ยกเลิก  ที่ดินจะเปลี่ยนแปลงรูปโฉดที่ดินเสียใหม่ ให้ตรงตามที่รังวัดได้

                 เมื่อผมให้ที่ดินไปรังวัดสอบเขตเนื้อที่  ว่ามีที่ดินตามที่ระบุไว้ในโฉนดหรือไม่   เสร็จแล้วจึงขออนุญาตกำนัน และ  อบต. ทำการขุดคูระบายน้ำ ด้านที่ติดคันคลองกว้าง 1 เมตร    และขุดดินริมคันคลองด้านที่รุกล้ำไปในนาออกไปบ้างส่วนหนึ่ง นำดินที่ขุดทำคูระบายน้ำ  โปะลงบนคันคลอง และได้ปลูกต้นยูคาลิปตัสริมคันคลองสาธารณะ    เพื่อกันตลิ่ง  กันฝั่งคลองพังทลาย  จะทำให้ที่นาเสียหายได้    ต่อมาเทศบาลได้ให้ช่างโยธา และพนักงานเทศบาลออกถ่ายภาพ  ร่องรอยที่ผมขุดคูระบายน้ำ   ใช้ตลับเมตร (เทป)  วัดที่นาของผม   ต่อมาจึงให้ที่ดินอำเภอไปรังวัดสอบเขต  ทำแผนที่วิวาท   ผมนำชี้แนวเขต(คนเดียว)จนเสร็จการ  กำนันเป้นตัวแทนโจทย์  มาดูด้วย  แต่ไม่ได้ทำการชี้แนวเขต   เมื่อมีแผนที่วิวาทแล้ว    เทศบาลไป แจ้งความดำเนินคดี  ตำรวจก็ออกมาสืบสวน สอบสวนตามหน้าที่  ใช้กิ่งไผ่ (แขนงไม้ไผ่)วัดที่นา)   และส่งสำนวนการสอบสวนให้อัยการ  ในปี 2552

               อัยการ  รอจังหวะ.....นาน  จึงสั่งฟ้องคดีอาญา     ว่าบุกรุกทำลาย ทำให้คันคลองสาธารณะเสียหาย   ผมไม่ทราบกฎหมายจึงจ้างทนายว่าความต่อสู้คดี และ เริ่มศึกษาความรู้ด้านกฏหมายที่ดิน  การบุกรุกละเมิด และข้อกฎหมายอื่น ๆ  ที่อาจารย์ได้กรุณาให้ความรู้กับประชาชนผมอ่านทุกหน้า  ทำให้เข้าใจข้อกฎหมายต่าง ๆ  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิต   ในการต่อสู้คดีมีการสืบพยานหลักฐานต่าง ๆ  มากมายทั้ง 2 ฝ่าย  ทั้งพยานบุคคล เอกสาร ภาพถ่าย ฯลฯ  จากการที่ อบต. ให้ที่ดินอำเภอไปรังวัดสอบเขต  ทำแผนที่วิวาท เจ้าหน้าที่ที่ดินบอกว่าแผนที่วิวาทนั้นใช้อ้างกับศาลคงไม่ได้  เพราะยังไม่มีการคำนวณเนื้อที่  ด้วยเหตที่ โจทย์ (กำนัน) และเทศบาล   ไม่ยอมรับการรังวัดสอบเขตครั้งนี้ (ครั้งที่ 2)  อ้างว่าไม่ได้ร่วมชี้แนวเขต  มีเพียงผม(จำเลย)นำชี้แนวเขต คนเดียวจนเสร็จ   แต่ตัวแทนโจทย์ (กำนัน) ไม่ยอมรับการรังวัด  อ้างว่าไม่ได้ร่วมชี้แนวเขต   

               ในการสืบคดีของศาลชั้นต้น  ผมขอความกรุณาศาล  ขอให้ที่ดินอำเภอ  ออกไปรังวัดสอบเขต  และทำแผนที่วิวาทอีกครั้ง (ครั้งที่ 3) การรังวัดครั้งนี้ผมชี้แนวเขต      ตามที่ผมเห็นแนวเขตต้งแต่ปี 2523 เพราะสมัยก่อนไม่มีน้ำประปาหมู่บ้าน  ผมและชาวบ้านหลายคน ไปอาบน้ำในที่นาแปลงนี้ทุกวัน   รวมทั้งไปทอดแห  ปักเบ็ด  หาปลา   ทราบดีว่าหลักเขตอยู่ที่ใด จุดใด  แต่กำนันก็ชี้แนวเขต  ตามที่ตนทำโครงการ ในปี 2545 ให้กรมชลประทานขุดลอกคลอง  นำดินถมคันนา  ขยายคันคลองให้กว้าง  บุกรุกที่นาชาวบ้าน  แต่การรังวัดครั้งนี้ยังไม่มีการปีกหลักเขตแดนถวร  ไม่มีการปักหลักปูนของทางที่ดิน   ยังไมการคำนวณเนื้อที่ดิน   ที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างชี้แนวเขต   และนายช่างรังวัดคนนี้  ไม่ได้ไปเป็นพยาน  หรือชี้แจงข้อมูล  ว่าผลการรังวัดเป็นอย่างไร      ทนายจงใจโง่  หรือด้วยเหตผลใดไม่ทราบ (อาจจะเดิมพัน 2 ฝ่าย  รับแทง  รับกิน หรือล้มมวย  อาชีพทนาย หรืออัยการ สนุกนะครับ)  ทนายมันไม่ยกประเด็นการรังวัดในครั้งนี้ต่อสู้คดีให้ผม   

               ศาลชั้นต้น    พิพากษา(ปี2553) ว่าจำเลยมีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 360  โทษจำคุก 2 ปี ปรับ 10000  บาท  โทษจำคุก รอลงอาญา 2 ปี ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง  ผู้แทนและบริวารออกไปจากคันคลอง  ผมปฏิบัติตามคำพิพากษาทุกอย่าง    ผม(จำเลย), โจทย์ได้แก่อัยการ.และโจทย์ร่วม( เทศบาล)ต่างก็ยื่นอุทธรณ์     ศาลอุทธรณ์พิพากษา ในเดือนกันยายน  2554 พิพาษายืนตามศาลชั้นต้น   และได้วินิจฉัยว่าการที่เนื้อที่ดินขาดหายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  ไปว่ากันอีกทีหนึ่ง   ตามความเข้าใจของผมจะถูกต้องหรือไม่  ว่าการที่ศาลอุทธรณ์ท่านวินิจฉัย    น่าจะมีความหมายว่าผม  ควรจะฟ้องร้อง  เรียกร้อง ดำเนินการตามสิทธิ์  ตามกฎหมายหรืออย่างไร  ขอความกรุณาอาจารนย์ได้กรุณาตอบตามข้อบัญญญัติของกฎหมายด้วย 

               ขอกราบเรียนถามอาจารย์  ดังนี้

    1.  เทศบาลมีหนังสือให้ผม (จำเลย) ถมคูระบายน้ำ ซึ่งผมขุดด้านที่ติดคันคลองสาธารณะ (อยู่ในโฉนดที่นา12 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ) ให้อยู่ในสภาพเดิมตามที่อบต.ปัจจุบันเป็นเทศบาล  ขุดลอกคลอง ขยายคันคลองให้ใหญ่รุกล้ำไปในที่นา ในปี 2545   และผมประมูลซื้อมา ปี 2549  ถ้าผมไม่ดำเนินการถมคูระบายน้ำ  ปรับคันคลองให้เหมือนปี 2545 โดยกำหนดให้ดำเนินการวันที่15 สิงหาคม 2555 หากไม่ดำเนินการ  เทศบาลจะฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายที่ผมขุด ทำลายคันคลอง (ริมคันคลองบางส่วนเพราะรุกล้ำมาในที่นา)  เทศบาลทำเกินคำพิพากษาหรือไม่

    2. เทศบาลให้ช่างโยธา  ทำโครงการถมคันคลอง (ซึ่งมีกรณีพิพาทกับผม)  และจะฟ้องคดีแพ่ง  ให้ผมออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประมาณ สามแสนเศษ   รวมทั้งค่าจ้างทนายว่าความฟ้องร้องผมด้วย  ผมต้องชดใช้ทั้งหมดหรือไม่  ในเมื่อคูระบายน้ำที่ผมขุดมันอยู่ในที่นาผม และคันคลองอีกส่วนหนึ่งก็รุกล้ำเข้าไปในที่นา  เทศบาลจะถมที่นาของผม  และจะให้ผมออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด  ขอความกรุณาอาจารย์ได้โปรดกรุณาแนะนำทางออกด้วยครับ

    3.  เทศบาลจะให้คนงาน  ลูกจ้างเทศบาล  ไปตัดต้นไม้ ยูคาลิปตัส ริ(มคันคลองที่ผมปลูกไว้ตั้งแต่ ปี 2549 ตั้งแต่รับโอนที่นามาเป็นกรรมสิทธิ์) ออกจากคันคลอง   เทศบาลมีสิทธ์ดำเนินการหรือไม่

    4. หากผมจะแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ให้ดำเนินคดี   ถ้าตามแง่กฎหมาย  ผมมีสิทธ์ฟ้องร้องดำเนินคดีเทศบาล  ทำให้เสียทรัพย์  ทำลายทรัพย์สิน  ได้หรือไม่

    5.การที่เทศบาลทำโครงการให้กรมชลประทาน  ขุดร่องน้ำ  หรือทางน้ำไหล  ซึ่งไหลผ่านนาของชาวบ้าน บางปีน้ำไม่มากก็ทำนาได้  ถ้าน้ำมากก็ท่วมต้นข้าว  ถูกขุด ให้กลายเป็นคลอง ตั้งแต่ ปี 2545 และกำนัน  หรือเทศบาลห้ามชาวบ้าน (เจ้าของ)ที่เคยวางลอบ  ดักไซ  หาปลา หรือวิดน้ำจับปลาในหน้าแล้ง  ถ้าชาวบ้าน  หรือ ตัวผม จะฟ้องคดีอาญา  บุกรุก  ละเมิดกับเทศบาล  ปีนี้  ปี 2555 หมดอายุความแล้วหรือไม่ 

    6. จากข้อ  5  ถ้าชาวบ้าน และตัวผม อยู่เฉย ๆ  ไม่ดำเนินการฟ้องร้อง  ทางน้ำที่ไหลผ่านนา   ถูกละเมิด ขุดให้เป้นคลอง  ถ้าพ้น 10 ปี  จะกลายเป็นคลองสาธารณะ โดยกฏหมายใช่หรือไม่  ทำอย่างไรชาวบ้าน และผม จึงจะไม่เสียที่นาทำกิน  เพราะบางคนมีที่นาเพียง 5 ไร่  ถูกขุดให้เป้นคลองผ่านนา  เหลือที่ระหว่างคลอง  ฝั่งละ1 ไร่    หรือ 2 ไร่ คงไม่มีมรดกที่นาให้ลูกหลานทำมาหากิน

    7.  จากข้อ 5  และ ข้อ  6  อัยการคงไม่ดำเนินการให้  ต้องจ้างทนายเอง  ใช่หรือไม่

    8. คลองที่ถูกละเมิดขุดในปี 2545 (บางคนบางคนไปเฝ้านาตั้งแต่เช้า ถึงตี 2  พอง่วง  กลับบ้าน  ถูกโขมยขุดกลางคืน)  ชาวบ้าน ซึ่งเจ้าของที่นาและมีโฉนดทุกคน    จะสามารถประกอบอาชีพ  เช่น  เลี้ยงปลาในกระชัง   หรือในหน้าแล้ง  น้ำแห้ง  สามารถสูบน้ำจับปลาในที่นาของตนเองหรือไม่  เพราะกำนัน  เทศบาล  บอกชาวบ้านว่าคลองที่(โขมยขุด  หรือละเมิดขุด) เป็นของหลวง  บางคนเอาป้ายไปติด ปักหลักไว้กลางคลอง(ที่ถูกละเมิด) ว่า " ที่ส่วนบุคคล  สงวนสิทธ์"   มีหลายหลายที่ถูกทำลายป้าย   แต่ก็พยายามติดใหม่  กฎหมายคุ้มครองหรือไม่ครับ

               กราบของพระคุณ  ด้วยความเคารพอย่างสูง

        

    คำตอบ

    1. เมื่อศาลตัดสินว่าคุณบุกรุกที่สาธารณะ ก็แปลว่าที่ดินตรงนั้นเป็นที่สาธารณะ ไม่ใช่ที่ดินของคุณอย่างที่คุณเข้าใจ  ถ้าคุณไม่ถม เขาก็ถมเองแล้วกลับมาฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายจากคุณ

    2. ถ้าเขาเพียงแต่จะฟ้อง คุณก็ยังมีเวลาเตรียมตัวต่อสู้คดี หรือจัดทำคันคลองให้เรียบร้อยได้

    3. ถ้าเขาไม่ได้ฟ้องในครั้งแรกว่าคุณบุกรุกปลูกต้นไม้ หรือขอให้ศาลสั่งให้คุณตัด เขาก็ไปตัดเองเฉย ๆ ไม่ได้ ถ้าเขาตัดและเอาไม้ไป คุณก็อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเขาได้

    4. สิทธิการฟ้องร้องเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ถ้าคดีมีมูลก็ฟ้องได้เสมอ ข้อสำคัญก่อนจะฟ้องก็ควรดูข้อเท็จจริงเสียให้รอบคอบ

    5. ถ้าเป็นการบุกรุกจริง ตราบเท่าที่การบุกรุกนั้นยังมีอยู่ก็ฟ้องได้เสมอ แต่การที่ดินตรงนั้นคุณเข้าใจว่าเป็นของเจ้าของเดิม และคุณซื้อมานั้น คุณอาจเข้าใจผิดก็ได้ เพราะเจ้าของเดิมอาจถือวิสาสะใช้ประโยชน์จากคันคลองโดยไม่มีใครว่าอะไรก็ได้ หรือ เมื่อตอนที่ทางการไปขยายคลอง เขาอาจอนุญาตหรือยกที่ดินตรงนั้นให้ไปดำเนินการได้ไปแล้ว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ที่ดินตรงนั้นก็กลายเป็นที่ดินสาธารณะไปแล้ว

    6. ถ้าไม่ได้อนุญาต หรือยกให้ทางการ ก็ฟ้องร้องเอาคืนได้ การยกให้นั้น แม้ไม่ได้พูดด้วยวาจา แต่ยินยอมและไม่ได้โต้แย้ง เป็นเวลาถึง ๑๐ ปี ก็อาจกลายเป็นที่สาธารณะไปได้เหมือนกัน

    7. ในเวลาที่ฟ้องทางราชการ  อัยการเขาไม่ดำเนินการให้

    8. ก็ควรรวมตัวกันเพื่อพิจารณาว่าจะฟ้องได้หรือไม่ หากฟ้องได้จะได้จ้างทนายความเสียด้วยกัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 สิงหาคม 2555