ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049684 การซื้อขายที่ดินในเขตจัดรูปที่ดินธีร์วิสิทธิ์ เนตรสุริวงค์25 ตุลาคม 2556

    คำถาม
    การซื้อขายที่ดินในเขตจัดรูปที่ดิน

    เรียนท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ที่เคารพ

      ผมมีข้อสงสัยทางกฎหมายในเรื่องการซื้อขายที่ดินในเขตพื้นที่จัดรูปที่ดินตามพ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.๒๕๑๗ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

      เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ ภริยาผมได้ตกลงจะซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นที่สำหรับทำนาข้าว เนื้อที่ประมาณ ๓ ไรเศษ ซึ่งก่อนจะทำสัญญากันได้ ภริยาผมได้ขอดูโฉนดที่ดินจากเจ้าของที่ดินผู้จะขาย พบว่า ด้านหลังโฉนดมีตราประทับระบุ "ห้ามโอนภายในห้าปี" ลงนามเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย (สาขาอำเภอท่าบ่อ) วันที่ ๒๒ พ.ย. ๒๕๕๒ จึงไปสอบถามสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดหนองคายว่า กรณีอย่างนี้จะซื้อขายกันได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานจัดรูปที่ดินฯแจ้งว่า เป็นกรณีต้องได้รับอนุญาตซื้อขายจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางก่อน ภริยาผมจึงให้บิดาซึ่งมีอาชีพเป็นเกษตรกรเป็นผู้ยื่นเรื่องขออนุญาตพร้อมกับเจ้าของที่ดิน หลังจากนั้นบิดาของภริยาผมกับเจ้าของที่ดินได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกัน ระบุว่า ตกลงราคาซื้อขายเป็นเงิน ๓๓๐,๐๐๐ บาท โดยมีการชำระค่าที่ดินบางส่วนเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้ครบถ้วนเมื่อได้รับอนุญาตให้ซื้อขายจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้ว

       ต่อมาเจ้าของที่ดินผู้จะขายบอกกล่าวแก่บิดาของภริยาผม ให้บิดาของภริยาผมเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการอนุญาตจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางก่อน ผมจึงค้นคว้าพ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.๒๕๑๗ ซึ่งมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ระบุว่า ภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน เจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับสิทธิในที่ดินจะโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดโดยทางมรดก หรือการโอนไปยังสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกหรือการโอนไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อประโยชน์ในการจัดรูปที่ดิน หรือเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง

       ดังนั้น ผมขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่า การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินในระหว่างกำหนดเวลาห้ามโอนและผู้จะขายให้สิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินได้ทันที จะมีผลทำให้สัญญาจะซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะหรือไม่ และถ้าภายหลังผู้จะขายเป็นผู้ผิดสัญญา จะเรียกเงินที่ชำระค่าที่ดินจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท คืนได้หรือไม่ อย่างไร

       จึงขอความกรุณาท่านอาจารย์โปรดไขข้อสงสัยให้ด้วยครับจะเป็นพระคุณอย่างสูง

                                                  ขอแสดงความนับถือ

                                                  ธีร์วิสิทธิ์ เนตรสุริวงค์

      

    คำตอบ

    เมื่อเขาเป็นเจ้าของที่ดิน เขาย่อมมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ใครทำประโยชน์ก็ได้  ไม่มีผลอะไรที่จะทำให้สัญญาเป็นโมฆะ เพราะสัญญากับการอนุญาตให้ใช้ที่ดินเป็นคนละเรื่องกัน  ไม่เข้าใจว่าคุณสงสัยอะไร


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 ตุลาคม 2556