ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049825 เรื่องที่ดินข้างเขียงด้านหลังทำรั้วรุกร้ำเข้ามาในที่ดินผม(ดูจากสายตาแนวรั้วเดิมของที่ดินด้านข้าง)พรพิพัฒน์5 กุมภาพันธ์ 2557

    คำถาม
    เรื่องที่ดินข้างเขียงด้านหลังทำรั้วรุกร้ำเข้ามาในที่ดินผม(ดูจากสายตาแนวรั้วเดิมของที่ดินด้านข้าง)

    รบกวนสอบถาม

    เรื่องที่ดินข้างเขียงด้านหลังทำรั้วรุกร้ำเข้ามาในที่ดินผม(ดูจากสายตาแนวรั้วเดิมของที่ดินด้านข้าง)

    เห็นได้ชัดเจนรุกร้ำ้เข้ามาประมาณ40cm ความกว้างประมาณ26m. รั้วที่เขาทำประมาณกลางปี56ตอนที่ทำรั้วผมไม่ทราบ

    มาทราบ อีกทีก็แล้วเสร็จไปแล้ว เคยติดต่อไปทางเจ้าของที่ได้บอกเขาๆก็ให้ใครไม่รู้ติดต่อกลับมาอ้างว่าเจ้า ของที่ให้ดูแลและจัดการทำรั้ว(สมมุติให้ชื่อคูณ1)เข้าก็ตกใจและบอกผมว่า ก่อนทำได้ทำการรังวัดที่ดินก่อนจะทำรั้วไม่น่าจะรุกร้ำ้ที่ดินของผมแต่ผมถาม ว่าตอนรังวัดทำไมผมไม่เห็นได้หนังสือจากกรมที่ดินให้ไประวังชี้เขตคุณ1ก็ตอบไม่ได้บอกว่าขอสอบถามลูกน้องก่อนและภายหลังตอบว่าใช้รังวัดเอกชนผมเลยถามว่า แล้วจะทำยังดีผมจะขอนัดให้คุณ1เข้ามาพูดคุยและมาดูแนวรั้วที่ดินข้างๆซึ่ง เห็นได้ชัดเจนเขาก็บ่ายเบี่ยงพอผมถามคำถามกับคุณ1ไปมากๆเขายืนยันว่าถูกต้อง เจ้าหน้าที่รังวัดวัดแล้ว

        ผมรู้สึกว่าคุยไม่รู้เรื่องแล้วเลยติดต่อไปทางเจ้าของที่ดินเจ้าของก็ไม่คุย ด้วยให้คุณ1เป็นคนจัดการทั้งหมดสุดท้ายคุณ1แก่บอกว่าถ้ายังนั้นก็ให้ผมไป ฟ้องเอาเองเป็นอันจบผมไม่รู้จะคุยอะไรต่อแล้ว

    -ตอนนี้ผมติดต่อให้เจ้าหน้าที่รังวัดกรมที่ดินไปรังวัดเพื่อให้เจ้าหน้าที่เขาสอบเขตหากผลปรากฎว่าถ้าที่ด้านหลังเขารุกล้ำเข้ามาจริงผมจะต้องทำอย่างไรบ้างครับ

    (ตอน ที่ผมไปเรื่องขอรังวัดที่กรมที่ดินได้สอบถามเจ้าหน้าที่รังวัดว่าที่ดินที่ เขาอ้างว่าทำการรังวัดโดยจ.น.ท รังวัดเอกชนมีในรายการสารบบในโฉนดที่ดินเขาหรือ เปล่าเจ้าที่ได้ไปตรวจค้นแล้วปรากฎว่าไม่เคยมีการทำเรื่ิองขอรังวัด)

    -ผมรองหาข้อมูลจากinternetดูเห็นมีเรื่องแบบนี้คล้ายๆผมดังนี้

    -กรณี1

    ฎ. 6439/2550 : โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า  จำเลยสร้างกำแพงบนแนวเขตที่ดินที่ติดต่อกัน  ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์  โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง  ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ  ตามคำให้การดังกล่าว  จำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น  มิได้เป็นการแย่งการครอบครองไปจากโจทก์  เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น  คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง

     

     

    -กรณี2

    เมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ผมซักค้านพยานฝ่ายโจทก์จนได้ความว่า ตัวโจทก์ทราบเรื่องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตั้งแต่วันที่รังวัดเสร็จ เพราะจำเลยบอกกับตัวโจทก์ในวันที่ชี้ระวังแนวเขตว่าเป็นคนปลูกยางพาราจำนวน สองแถวที่ล้ำเข้าไปในแนวที่ดินด้วยตัวเอง โจทก์จึงบอกในเวลานั้นว่าให้รีบถอนออกไปเลย ไม่งั้นจะฟ้องข้อหาบุกรุก นับจากเวลาดังกล่าวนี้จนถึงวันฟ้องคดีเป็นเวลา 11 เดือน 8 วัน  และการฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ว่าจ้างทนายให้ฟ้องคดีด้วยตนเอง ไม่เคยแจ้งความร้องทุกข์ไว้  เมื่อได้ความดังนี้ศาลจึงพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ  คือผมชนะคดีนี้ตั้งแต่ชั้นไต่สวนมูลฟ้องเลยครับ เพราะคดีนี้ฟ้องเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งในที่นี้ โจทก์รู้เรื่องว่าที่ดินถูกบุกรุกแน่นอนตั้งแต่วันรังวัดสอบเขต และรู้ว่าจำเลยเป็นคนบุกรุก อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โดยโจทก์มีทางเลือกสองทาง คือ

    1.แจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน

    2.หรือไม่ก็ต้องฟ้องคดีด้วยตนเองภายใน  3 เดือน

    แล้วถามว่าท่านทนายโจทก์ไม่ทราบหรือว่า คดีขาดอายุความแล้ว ขอตอบว่าทราบครับ....ท่านผู้อ่านอาจคิดว่างั้นท่านทนายโจทก์ประสงค์อย่าง เดียวคือเงินค่าทนาย....ขอตอบแทนเลยว่าไม่ใช่ครับ ท่านทนายโจทก์คิดอย่างนี้ครับ คือท่านคิดว่าคดียังมีอายุความอยู่เพราะการบุกรุกยังมีต่อเนื่องมาตลอดนับ จากวันแรกที่บุกรุกเข้าไปปลูกต้นยางพารา แต่ศาลมองว่าการบุกรุกและเข้าไปทำลายหลักแนวเขตที่ดินเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรก และถือเป็นความผิดที่สำเร็จแล้วแม้ต่อมายังมีการบุกรุกกันอยู่ก็ต้องถือว่า เป็นการบุกรุกที่ดินกันเพียงครั้งเดียวไม่ได้ถือว่าเมื่อเดินออกมาแล้วกลับ เข้าไปใหม่ถือเป็นความผิดที่ได้เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งแต่อย่างใด เมื่อโจทก์รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดต้องดำเนินคดีภายในกำหนดอายุค วาม 3 เดือน เพราะคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ที่ผมว่ามานี้มีกฎหมายระบุไว้ตามนี้ครับ

    มาตรา 363 ผู้ใดเพื่อถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตน  หรือของบุคคลที่สามยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ส่วนเรื่องอายุความก็มีกฎหมายว่าไว้ตามนี้ครับ  

    มาตรา 96  ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่ วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

      รบกวนสอบถามว่าหากเกิดต้องฟ้องร้องผลจะเป็นแบบนี้หรือเปล่าครับ

    -อยากทราบว่าผมจะต้องทำอะไรบ้่างและขั้นตอนมันจะเป็นอย่างไรบ้างครับ

                          ขอบคุณครับ

    คำตอบ
    1. กรณีที่ ๑ น่าจะเป็นเรื่องที่ดินมือเปล่า คือไม่มีเอกสารสิทธิ ส่วนกรณีที่ ๒ เป็นเรื่องการฟ้องในทางอาญาเรื่องบุกรุก  แต่ถ้าคุณต้องการฟ้องเพื่อเอาที่ดินของคุณคืน คุณก็ไปขอให้เจ้าหน้าที่มารังวัด เมื่อรู้ว่าเขารุกล้ำเข้ามาแล้ว ก็ตัดสินใจว่าจะฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่ง ถ้าฟ้องคดีอาญาก็ไปแจ้งความเสียภายใน ๓ เดือนนับแต่วันที่รู้ผลการรังวัด  แต่ถ้าจะฟ้องคดีแพ่ง ก็ฟ้องเสียภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้ (ความจริงอายุความยาวถึง ๑๐ ปีั)
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 กุมภาพันธ์ 2557