ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    027045 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง ทำไมยากจังเพี้ยน 15416 มีนาคม 2551

    คำถาม
    จดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง ทำไมยากจัง

    กราบเรียน  ท่านอาจารย์มีชัย

     

    บิดาผมได้นำที่ดินของท่านไปจำนองเพื่อค้ำประกันเงินกู้ของบุคคลอื่น  ต่อมาบิดาได้เสียชีวิตลงและบุคคลอื่นนั้นก็ไม่ชำระหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ยแก่ธนาคารเลย    ธนาคารปล่อยเรื่องไว้จนหนี้ประธานขาดอายุความ  จึงมาไล่ฟ้องไถ่ถอนจำนองจากผมซึ่งเป็นทายาทของผู้ค้ำประกัน

    ลำดับเหตุการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น  มีดังนี้

    1. ธนาคารส่งจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้ไถ่ถอนจำนอง  โดยระบุยอดหนี้ 400,000  บาท แต่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ยค้างจ่ายย้อนหลัง 5 ปีมาให้ทราบ  ผมเข้าไปเจรจาที่สำนักงานธนาคาร  เจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่า ถ้าต้องการไถ่ถอนจำนองที่ดินต้องชำระเงินประมาณ 8 ล้าน  ผมและทนายความที่ไปด้วยไม่ยอมรับเพราะธนาคารเรียกให้ไถ่ถอนสูงเกินส่วน  จึงกลับมาตั้งหลักใหม่
    2. ต่อมาหลังจากกลับมาตั้งหลักแล้ว   ธนาคารได้ยื่นฟ้องให้ไถ่ถอนจำนองต่อศาล ระบุเงินต้น 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยค้างจ่ายย้อนหลัง 5 ปี อีกประมาณเกือบ 400,000 บาท  รวมทั้งต้นและดอกเบี้ยเป็นเงินประมาณ  800,000 บาท (ต่างจากตอนเข้าไปเจรจาครั้งแรกเกือบ 10 เท่า)  พร้อมเรียกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 19 ของเงินต้นนับจากวันฟ้อง  ทางโจทก์ได้เสนอเงื่อนไขประนีประนอมให้จำเลย  ซึ่งทางจำเลย (ผม)ได้เจรจายินดียอมจ่ายทั้งเงินต้น ดอกเบี้ยย้อนหลัง 5 ปี พร้อมดอกเบี้ยหลังฟ้องจนถึงวันชำระหนี้  พร้อมค่าทนายทั้งหมด  แต่ในสัญญายอมที่ทางโจทก์จะให้จำเลยลงนาม  กลับไม่ระบุข้อความสำคัญ คือ กำหนดเวลาหรือเงื่อนไขในการให้จดทะเบียนไถ่ถอน  หรือ ระบุว่าให้ถือเอาคำพิพากษาตามยอมฉบับนี้แทนการแสดงเจตนา   ทนายโจทก์พูดง่าย ๆ ว่าให้จำเลยชำระหนี้ก่อน แล้วให้จำเลยค่อยทำหนังสือแจ้งไปให้ธนาคารไถ่ถอนให้ภายหลัง  ซึ่งทนายฝ่ายจำเลยเห็นว่าไม่เป็นธรรม  ไม่มีหลักประกันว่าจำเลยจะได้รับการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง   ดังนั้นการเจรจาประนีประนอมจึงไม่เป็นผล
    3. ถึงนัดสืบพยานครั้งแรก (ยังไม่ได้สืบพยานจริง) ภายหลังจากที่เจรจาไม่สำเร็จมานานกว่า 15 เดือนแล้วเพราะโจทก์ประวิงเวลา (ดอกเบี้ยหลังฟ้องเดินตลอด)  ทนายโจทก์เตรียมตัวมาขอแถลงเลื่อนคดีเนื่องจากอ้างว่า ลืมนำเอกสารสำคัญสำหรับนัดสืบมา  ทางทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่า จำเลยยินยอมชำระหนี้เงินต้น ดอกเบี้ยย้อนหลัง และ ดอกเบี้ยหลังฟ้องให้แก่โจทก์ตามท้ายฟ้องทุกประการ    แต่ทนายโจทก์แถลงกลับว่าไม่มีอำนาจมาทำยอมในวันนี้แล้ว    ทางศาลท่านก็เมตตาจำเลย เพราะ เห็นว่ามีท่าทีจะตกลงกันได้  โดยให้จำเลยทำหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการธนาคารแสดงเจตนาขอไถ่ถอนจำนองอีกครั้ง  ซึ่งทางจำเลยก็ได้ทำหนังสือตามที่ศาลท่านเจรจากับฝ่ายโจทก์แล้วทุกประการ  โดยศาลท่านขอนัดทราบผลโดยเร็ว ภายใน 3  สัปดาห์
    4. ใน 3 สัปดาห์ต่อมาที่ศาลท่านนัดติดตามความคืบหน้า ทางทนายฝ่ายโจทก์อ้างว่าป่วยและเตรียมเอกสารที่จำเลยเสนอมาให้กรรมการผู้จัดการพิจารณาไม่ทัน  ได้มอบอำนาจให้ทนายคนอื่นมาขอนัดเลื่อนคดีอีก  ทั้งที่ทางผมพร้อมชำระหนี้ตลอดเวลา
    5. ศาลท่านกำชับทนายที่รับมอบอำนาจช่วงของฝ่ายโจทก์ให้รีบดำเนินการเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วอีกครั้ง  โดยอนุญาตให้เลื่อนนัดออกไปอีก 2 เดือน  (ตอนนี้ผมกำลังนั่งมึนงง  บวกดอกเบี้ยหลังฟ้อง  รอคอยนัดสืบครั้งต่อไปอยู่ครับ)
    6. ผมต้องการไถ่ถอนที่ดินจำนองแปลงนี้ครับ  เพราะราคาปัจจุบันสูงขึ้นกว่ามูลหนี้ที่ฟ้องมาเกือบ 10 เท่าแล้ว  เนื่องจากมีถนนใหญ่มากตัดผ่านใกล้ที่ดิน 

     

    ขอเรียนปรึกษา  ดังนี้

    ก.  ธนาคารไม่ระบุเงื่อนไขเรื่องจดทะเบียนไถ่ถอนในสัญญายอมให้กับผมนั้น ทำได้ใช่หรือไม่   และ ถูกต้องหรือไม่   ผลดีและผลเสียหากผมยอมรับตามธนาคารเสนอมาจะเป็นอย่างไร

    ข.  ผมจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะได้รับการจดทะเบียนไถ่ถอน  เมื่อชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารตามที่เรียกร้องมาทั้งหมดแล้ว

    ค.  ในขั้นตอนของศาลขณะนี้ไม่มีการสืบพยานนัดแรก  ผมควรยื่นแก้ไขสำนวนแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์มีพฤติกรรมไม่สุจริตได้หรือไม่   และจะมีผลอย่างไร

    ง.  ผมสามารถฟ้องแย้งเข้าไปในคดี  เพื่อบังคับให้ธนาคารรับไถ่ถอนให้ผมได้หรือไม่  อันเนื่องมาจากพฤติกรรมไม่สุจริตของโจทก์  จะมีผลอย่างไร

    จ.  คดีไถ่ถอนจำนอง ยุ่งยากอย่างนี้เสมอหรือไม่ครับ   เพราะจากพฤติการณ์ธนาคาร (อาจเป็นบุคลากรบางส่วน) จะหาช่องทางไม่รับเงินไถ่ถอนแล้วมายึดที่ดินไปขายกินส่วนต่างเอง

    ฉ.  จะมีช่องทางหยุดดอกเบี้ยหลังฟ้องไม่ให้เดินได้หรือไม่  เช่น  เอาเงินไปวางทรัพย์ที่ใดได้บ้าง ระหว่างศาล หรือ สำนักงานบังคับคดี ฯลฯ

     ช.   ผมไม่ฉลาดใช่หรือไม่  ที่ไปหาญสู้กับธนาคารเพื่อปกป้องสิทธิของตนในฐานะทายาท

    ซ.   อื่น ๆ แล้วแต่ท่านจะเมตตาแนะนำครับ  เพราะผมสอบถามใครก็บอกไม่ค่อยเจอเรื่องเพี้ยน ๆ แบบนี้

    คำตอบ

    เรียน คุณเพี้ยน

        ในเมื่อมีทนายความอยู่แล้วก็ควรปรึกษาหารือกับทนายความโดยเฉพาะในเรื่องนำเงินตามที่เขาฟ้องไปวางศาลเพื่อหยุดดอกเบี้ยหลังจากนั้น


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 มีนาคม 2551