ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    027762 การค้ำประกันจิดาภา ประสงค์ทรัพย์27 เมษายน 2551

    คำถาม
    การค้ำประกัน

    เรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพ

    ปัจจุบันดิฉันอายุ 48 ปี ดิฉันหย่ากับสามีตั้งแต่ปี 2546 โดยลูกสามคนอยู่กับดิฉัน ดิฉันไม่เอาทรัพย์สมบัติใดๆเลยขอเพียงแต่ให้เขาหย่าให้ดิฉันและดิฉันก็ได้ตั้งตัวใหม่จากศูนย์ จนปัจจุบันก็มีกิจการบริษัทเป็นของตนเองส่วนตัวเขาก็เริ่มแย่ลงเป็นหนี้เป็นสินมากมายจนธนาคารฟ้อง แต่ดิฉ้นไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้เลยไม่ว่าทั้งก่อนหย่า หรือปัจจุบันเพราะเขาไม่ยอมขายทรัพย์สินที่มีอยู่ซึ่งถ้าเขาขายก็สามารถ coverกับหนี้สินแต่เขาไม่ทำ ดิฉันต้องขึ้นศาลในวันที่ 29 เมษายน 2551 ในฐานะคนค้ำประกัน วงเงินให้เขานำเงินออกมาใช้ในการหมุนเวียนทำธุรกิจ โดยมี ห้างหุ้นส่วนเป็นจำเลยที่ 1 ตัวอดีตสามีเป็นจำเลย ที่ 2 พี่สาวของเขานำบ้านของเขาไปจำนองค้ำ เป็นจำเลยที่ 3 ส่วนดิฉันเป็นจำเลยที่ 4 ดิฉันจนใจจริงๆไม่ทราบว่าจะไปปรึกษาใคร เพราะทางอดีตสามีก็ไม่ให้ความร่วมมือใดๆเลย และดิฉันก็สงสารพี่สาวเค้าด้วยที่เค้าก็อุตส่าห์ช่วยให้น้องชายทำธุรกิจ แต่ก็รู้สึกว่าคนค้ำประกันจะตกในที่นั่งลำบากกว่า ลูกหนี้จริงๆเสียอีก  ก่อนหน้าที่จะหย่าสามีก็บังคับให้ดิฉันเอาบ้านที่คุณแม่ให้ดิฉันไปจำนองเพื่อให้เขาได้ใช้วงเงิน แต่เมื่อหย่าเขาก็มิได้นำพากับความลำบากของดิฉัน ดิฉันก็ไปกู้หนี้ยืมสินเขามาเพื่อนำไปไถ่ถอน และขายบ้าน ใช้หนี้และนำเงินส่วนที่เหลือมาสร้างเนื้อสร้างตัวจนทุกวันนี้ ดิฉันอยากถามท่านอาจารย์ว่า ดิฉันพอจะมีหนทางใดสู้คดีบ้าง เพระทั้งๆที่รู้ละคะว่ายากแต่ก็ไม่อยากอับจนหนทาง อยากให้ท่านได้ช่วยคนที่หมดทางต่อสู้ 2 คนคือ พี่สาวเขา กับดิฉัน  จะเป็นไปได้ไหมที่จะต่อสู้ในแง่ที่ว่า

    1เราเป็นคู่สัญญากับ ธนาคารไทยทนุ เมื่อมีการโอนเปลี่ยนมือ เป็นธนาคารทหารไทย เราไม่ยอมเป็นจำเลยกับทหารไทย เราเป็นคู่กรณีกับธนาคารไทยทนุ

    2มีทางเป็นไปได้ไหมที่จะให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ทั้งหมด

    แต่ทนายส่งคำให้การพยานเบื้องต้นมาว่าให้ดิฉ้นรับผิดหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 700,000ในคดีแรกเพราะที่ดินที่นำไปจำนองมีมูลค่า 500,000บาท แต่ขอวงเงินไป 700,000บาท ถ้ามาถึงตรงนี้ เราสามารถสู้ได้ไหมคะว่าจำนอง 500,000ก้อรับผิดไม่เกิน 500,000บาท กรุณาด้วยเถอะคะไม่รู้ว่าจะโดนทางอดีตสามีกับทนายเขาหลอกให้เรารับผิดชอบเบื้องต้นนี้ก่อน 700,000บาทหรือไม่

    ดิฉันไม่ทราบจะหวังพึ่งใครเพราะการจ้างทนายก็ต้องศึกษาอย่างดีเหมือนกัน แต่เหมือนจวนตัวคะ เพราะเลี้ยงดูลูกสามคน ก็หนักมากพอสมควร คนโดเรียนกฎหมายที่ธรรมศาสตร์ ขึ้นปี 3 คนกลางเป็นนักเรียนทุน ABAC ขึ้นปี 2 ส่วนคนเล็ก ขึ้น ม.6 ดิฉันเป็นคนทำอาชีพสุจริตไม่เคยคิดคดโกงใคร ตั้งใจทำงานเพื่อช่วยเหลือ ประเทศชาติ และสังคมมาโดยตลอด และคิดว่าเมื่อลูกชายคนโต เรียนจบ อยากให้เขาได้ดำเนินรอยตาม อาจารย์มีชัยอย่างนี้บ้าง เค้าอยากเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย แต่เขาอยากสอน เป็นภาษาอังกฤษ และเยอรมัน เพราะเขาเคยได้รับทุนไปเรียนที่ สวิส 1 ปี และที่ สวีเดน 1 ปี ดิฉันสอนเขาเสมอว่ากฎหมายเมืองไทยมีหลายอย่างต้องแก้ไขอยากให้เขาสำนึกบุญคุณที่เกิดมาในใต้ร่มบารมีของในหลวง สอนเขาให้ทำงานเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ส่วนคุณพ่อเขาเป็นคนจีน ไม่รักแผ่นดินที่ตัวเองเกิดเลย ทำให้ทัศนคติไม่ตรงกันอย่างมากคะ หวังว่าจะได้รับคำชี้แนะก่อนขึ้นศาลวันมะรืนนะคะ

    ด้วยความเคารพรักอย่างสูง

    จิดาภา(ซอย ฤชุพันธ์ ลาดบัวหลวง)

    คำตอบ

    เรียน คุณจิดาภา

    1. ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น การที่คุณค้ำประกันไว้กับธนาคารหนึ่ง คุณก็ไม่ควรต้องรับผิดชอบในอีกธนาคารหนึ่ง

    2.โดยปกติเจ้าหนี้เขาก็คงยึดทรัพย์ลุกหนี้ไปขายทอดตลาดก่อนขาดเหลือเท่าไรจึงจะเอาจากผู้ค้ำประกัน เพราะยึดเอาจากทรัพย์ที่ค้ำประกันง่ายกว่าไปสืบหาทรัพย์ของคนอื่น

    3. ปกติหนังสือค้ำประกันจะคุ้มถึงดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นด้วย ลองไปอ่านหนังสือค้ำประกันที่ลงนามไว้ดูเถอะ

    4. เมื่อเกิดคดีขึ้นแล้ว ทางที่ดีก็คงต้องหาทนายความที่ไว้ใจได้ เพื่อให้เขาหาทางสู้คดีให้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 เมษายน 2551