ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    029088 อุทธรณ์หลังคำสั่งศาลคดีค้ำประกันบุคคลผู้รอคำตอบ9 กรกฎาคม 2551

    คำถาม
    อุทธรณ์หลังคำสั่งศาลคดีค้ำประกันบุคคล

    เรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพ

     

    ปัจจุบันผมอายุ 46 ปี อาชีพรับราชการ ระดับ 7 สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ผมมีปัญหาอยากเรียนถามอาจารย์เพื่อเป็นความรู้และไขข้อข้องใจดังนี้ครับ

    ผมได้ค้ำประกันนาย ก. เข้าทำงานในบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่ง ในตำแหน่งพนักงานขาย ต่อมา นาย ก. ได้ขายรถยนต์ของบริษัท ในราคา 702,800 บาท และไม่ได้นำเงินส่งบริษัท

    ก. มีเพื่อนหญิง ชื่อ ข. (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) ซึ่งทำงานในตำแหน่งผู้แทนขายเหมือนกันแต่อยู่คนละสาขา และ ข. ได้ขายรถของบริษัท 3 คัน จำนวน 1,689,000 บาท โดยไม่นำเงินส่งบริษัท

    ต่อมาบริษัท ได้ให้ ก. เซ็นรับสภาพหนี้ของ ข. (ซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 ที่ผมไม่ได้ค้ำประกัน) และทำเอกสารกันโดยไม่ได้แจ้งให้ผมทราบ จากนั้นบริษัทได้ฟ้องแพ่ง ก. และผม ให้ชดใช้ค่าเสียหายรวม 2 กรณีจำนวน 2,381,800 บาท

    ผมได้แก้ต่างสู้คดีเพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรม ต่อมาวันที่  6 มิถุนายน 2550 ศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้ ก. และผม ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ผมได้ยื่นอุทธรณ์ และศาลนัดฟังคำสั่งอุทธรณ์ วัน 21 กรกฏาคม 2551 ที่จะถึงนี้ ผมขอถามอาจารย์ดังนี้

    1.   ในแง่กฎหมาย สามารถนำความเสียหายของบุคคลนอกค้ำประกัน มารวมกับความเสียหายของคนที่ผมค้ำประกัน ได้หรือไม่ โดยเฉพาะกรณีนี้ผมไม่ได้รับทราบการทำเอกสารรับสภาพหนี้ และควรจะแก้ไขยังไง

    2.   กรณีหาก ก. รับสภาพหนี้ ข. และ ข. รับสภาพหนี้ ค. ... ต่อ ๆ กันไป จะทำอย่างไร เพราะถ้าพิจารณาจากคำพิพากษา จะเกิดกรณีนี้ได้

    3.   มีวิธีใด หรือฟ้องร้องกับบริษัทรถยนต์อย่างไรบ้าง หรือผมควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อไม่ต้องใช้หนี้ส่วนที่ผมไม่ได้ค้ำประกัน

    4.   ทุกวันนี้เงินใช้จ่ายรายเดือนก็น้อยอยู่แล้ว และถ้าขาดส่งใช้หนี้หรือไม่มีเงินส่งจริง ๆ หลังคำสั่งศาล จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง เช่น ขาดส่ง 5 เดือน และส่งต่อ

     

    ด้วยความเคารพรักอย่างสูง

     

    คำตอบ

    เรียน ผู้รอคำตอบ

    1.-3. โดยปกติหนี้ที่เกิดขึ้นจากบุคคลอื่นที่คุณไม่ได้ค้ำประกันนั้น คุณไม่ต้องรับผิดชอบ  แต่การที่ ก. รับสภาพหนี้แทน ข. นั้น ต้องตรวจดูหนังสือรับสภาพหนี้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร อาจเป็นการรับสภาพหนี้เพราะเหตุที่ ก.ไปร่วมการกระทำความเสียหายนั้นกับ ข.ด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้น ก็เท่ากับเป็นความเสียหายที่ ก.เป็นผู้ทำ คุณในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบไปด้วย

    4. ในกรณีเช่นนั้น ดอกเบี้ยก็คงเพิ่มพูนขึ้น


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 กรกฎาคม 2551