ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    029096 หลอกยืมเงินแล้วบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่ายคนซื่อที่ถูกหักหลัง9 กรกฎาคม 2551

    คำถาม
    หลอกยืมเงินแล้วบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่าย

    เรียน อาจารย์ ที่เคารพคะ

        ดิฉันเป็นคนที่ตรงๆ คิดอย่างไรก็พูดออกไปอย่างนั้น  แต่ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับเหตุและผล  เพื่อนของดิฉันคนหนึ่งเคยมาขอให้ดิฉันช่วยหยิบยืมเงินให้กับเพื่อนของเขาอีกทอดหนึ่งเป็นมูลค่ากว่า10,000  บาท  ดิฉันได้ปฏิเสธและบอกกล่าวเขาไปว่าถ้าไม่ใช่ธุระจำเป็นของครอบครัวของเขาอย่างที่สุดอย่าได้นำหนี้มาให้เราช่วยแบกรับภาระ

       ดังนั้นในเดือน มิถุนายน  2550  เขาจึงมาโกหกดิฉันอีกครั้งว่าแม่ของเขามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เงินเพื่อซื้อที่ดินที่อยู่ด้านหน้าเพื่อเปิดเป็นเส้นทางเดินเข้าที่ดินของเขาที่อยู่ด้านหลัง เนื่องจากเจ้าของที่ด้านหน้ากำลังจะขายที่ดิน  ส่วนตัวของเขาเองนั้นก็กำลังมีหนี้เครดิตอยู่กับบริษัทอีซี่บาย ไม่สามารถกู้ได้อีก  จึงขอให้ดิฉันให้ชื่อตัวเองเป็นธุระดำเนินการกู้ให้แล้วตัวเขาจะเป็นผู้จ่ายเงินค่าหนี้เหล่านั้นเอง  ซึ่งมีมูลค่า  30,000  บาท  ดิฉันเห็นใจจึงยอมที่จะดำเนินการให้ แต่ก็ได้บอกกล่าวไปแล้วว่าถ้าหากเงินจำนวนนี้ไม่ได้นำไปใช้เพื่อการอย่างที่เขาได้เล่ามาก็ขอให้นำมาคืนดิฉัน เนื่องจากหลังปีใหม่ คือปี 2551  ดิฉันก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินจำนวนนี้  เขาก็รับปากว่าจะจ่ายให้ภายในสิ้นปี คือ ปี 2550  โดยการหยิบยืมนั้นเป็นการรับรู้ระหว่างเรา  2  คน และไม่ได้เขียนเป็นหนังสือสัญญาใดๆ  และในเดือนธันวาคม  2550  ทางบริษัทอีซี่บายก็โทรมาแจ้งดิฉันว่าให้ไปเปลี่ยนบัตรที่มีอยู่เดิมเป็นบัตรกดเงินสด  ณ ขณะนั้นดิฉันมองว่าแม้เป็นชื่อของดิฉันก็จริงแต่เขาเป็นผู้ใช้เงินและใช้หนี้ การที่จะมีบัตรกดเงินสดก็ควรจะบอกกล่าวเขา  พอเขาทราบเขาก็เดินทางไปรับบัตรพร้อมดิฉัน  แล้วเขาก็ขอบัตรไปจากดิฉันโดยให้เหตุผลว่าไว้ชำระค่าบริการจะได้สะดวก  ดิฉันไม่เคยใช้บัตรนี้จึงไม่ทราบว่ามันมีความสะดวกในเรื่องใดบ้างจึงให้เขาไปและกำชับว่าไม่ให้กดเงินจากบัตรนี้  ตัวเขาเองก็รับปากสัญญาอย่างเป็นมั่นเหมาะ แต่สุดท้ายเขาก็แอบไปกดเงินออกมาใช้โดยไม่แจ้งให้ดิฉันทราบ  ดิฉันจึงโทรไปตำหนิและบอกให้ส่งบัตรกลับคืนมาเขาก็ไม่ยอมคืนและแอบกดอีกรวมแล้วเป็น  3  ครั้ง  ดิฉันทนไม่ไหวจึงไปอายัดบัตรไว้

    ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เขาก็โทรมาเยือมอีก  30,000  บาท  แต่ดิฉันให้ยืม 5,000  บาท  เขาก็สัญญาอีกว่าจะใช้คืนสิ้นเดือนมีนาคมอีก

    สุดท้ายเขาไม่คืนตามที่สัญญาไว้เลย  เขาจะไปจ่ายเฉพาะเงินขั้นต่ำกับบริษัทอีซี่บายเท่านั้น

    และที่สำคัญเขาไม่ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แม่จริงๆ แต่เอาไปให้คนอื่นยืมต่อพอดิฉันทวงเขาก็ให้ไปทวงถามเอาเองคะ

    ดิฉันอยากเรียนถามท่านดังนี้คะ

    1.  ถ้าหากดิฉันไม่ได้เขียนสัญญาเงินกู้กับเขา  ดิฉันยังพอมีช่องทางได้เงินคืนบ้างไหมค่ะ

    2.  ถ้าหากดิฉันให้เขาเขียนสัญญาเงินกู้ในภายหลังแต่ลงวันที่ย้อนไป ณ วันที่เขารับเงินจากเรามาจะได้ไหมค่ะ  แล้วอย่างนี้จะถือว่าเป็นการปลอมแปลงเอกสารหรือไม่

    3. เราจะฟ้องร้องเขาให้ตกเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้หรือไม่ค่ะถ้าหากว่าเรารับรู้มาว่าเขามีหนี้มากกว่าเงินเดือนที่ตนได้รับถึงโดยประมาณ  7  เท่า แต่หนี้ทุกหนี้เป็นหนี้นอกระบบมีสัญญาเงินกู้บ้าง และไม่มีบ้าง เราทำได้หรือไม่ค่ะ 

    สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบคุณท่านมานะที่นี้ที่ได้ให้คำแนะนำอย่างดียิ่งสำหรับดิฉันค่ะ

    คำตอบ

    เรียน คนซื่อที่ถูกหักหลัง

    1. ไม่มีทาง  ถึงมีหนังสือสัญญา ก็คงยากเพราะเขาคงไม่มีเงินให้

    2. ไม่เป็นการปลอม ถ้าเขาทำให้ก็ดี

    3. อย่างนี้ยังไม่เรียกว่าเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวหรอก  อย่าไปฟ้องให้เสียเงินเพิ่มขึ้นเลย

           สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งก็คือ รีบติดต่อกับบริษัทเจ้าของบัตรเพื่อตรวจดูว่าเป็นหนี้เท่าไร แล้วรีบไปใช้เขาเสีย อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะถึงเวลาบริษัทจะมาเรียกเก็บเงินจากคุณพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ ยี่สิบกว่า ไม่ช้าไม่นานก็จะเป็นเงินหลายแสน คุณจะลำบากยิ่งขึ้น  ถือเสียว่าเป็นค่าซื้อความโง่


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 กรกฎาคม 2551