ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    032685 การขายทอดตลาดขาดทุนผู้ติดร่างแหการค้ำประกัน23 ธันวาคม 2551

    คำถาม
    การขายทอดตลาดขาดทุน

        เนื่องจากดิฉันเป็นผู้ค้ำประกัน การซื้อรถยนต์ และผู้เช่าซื้อได้ส่งมอบรถคืนบริษัทไฟแนนซ์แล้ว เนื่องจากไม่สามารถส่งรถต่อไปได้  บริษัทแจ้งให้ทราบว่าจะขายทอดตลาดรถคันดังกล่าว  และดิฉันติดต่อไปยังบริษัทซึ่งบริษัทแจ้งว่าได้ขายทอดตลาดรถคันดังกล่าวแล้วปรากฎผลว่า ขาดทุน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 104,500 บาท  (แต่ขณะนี้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัท)  ด้วยความวิติกกังวลดิฉันจึงติดต่อไปยังตัวแทนของบริษัทที่มาดำเนินการเรื่องเช่าซื้อให้ ตัวแทนดังกล่าวให้คำแนะนำว่า หากบริษัทแจ้งให้ไปเจรจากับบริษัททางที่ดีไม่ควรไป ควรปล่อยให้บริษัทดำเนินการฟ้องศาลไปเลย เนื่องจากถ้าไปเจรจากับบริษัท บริษัทจะลดมูลหนี้ให้จำนวนน้อย  แต่ถ้าปล่อยให้บริษัทดำเนินการฟ้องศาล และผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกัน ไปแถลงต่อศาล เพื่อขอความเห็นใจว่า เหตุที่เราคืนรถดีกว่าเราไม่มีเงินส่ง แล้วปล่อยให้บริษัทมายึดรถ แล้วต้องเสียเวลาติดตามรถ  ดังนั้น  ผู้เช่าซื้อคืนรถ  รวมทั้งต้องเสียเงินดาวน์ (ประมาณ 60,000 บาท)  และได้ส่งรถไปแล้วประมาณ 5 งวด ๆ ละ ประมาณ 9,000 - 10,000 บาท  ซึ่งเป็นรวมมูลค่าแล้วประมาณ 100,000 - 120,000 บาท  แล้วหากยังต้องให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน ต้องมาชดใช้ในส่วนขาดทุนอีก  ก็ขอความเห็นใจให้ศาลพิจารณา  ซึ่งศาลน่าจะพิจารณาลดมูลหนี้ให้ได้มากกว่าบริษัท

               ดิฉันจึงขอถามในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

                1.  ผู้เช่าซื้อควรจะไปเจรจากับบริษัท หรือควรจะปล่อยให้บริษัทดำเนินการฟ้องศาล ดีค่ะ

                 2.  ความน่าจะเป็นหาก ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำไปแถลงต่อศาล เมื่อศาลมีหมายนัด  ศาลพิจารณาคดีลดมูลหนี้ ประมาณเท่าไหร่  เพราะตัวแทนแนะนำว่า ศาลน่าจะพิจารณาคดีลดมูลหนี้ได้มากกว่า การไปเจรจากับบริษัท จริงหรือไม่ค่ะ

    คำตอบ

    1. การไปเจรจาย่อมดีกว่าปล่อยไปตามบุญตามกรรม เพราะเขาจะฟ้องเมื่อไรก็ไม่รู้ ดอกเบี้ยก็จะเดินไปเรื่อย ๆ ในอัตราสูงสุด และเมื่อแพ้คดีแล้วยังจะต้องเสียค่าทนาย ค่าขึ้นศาล แทนเขาด้วย

    2. ไม่น่าจะจริงหรอก


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 ธันวาคม 2551