ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    033579 ไฟแนนท์หญิง10 กุมภาพันธ์ 2552

    คำถาม
    ไฟแนนท์

    เรียนปรึกษาอาจารย์ค่ะ คือน้องชายดิฉันไปทำสัญญาเช่าซื้อมอเตอร์ไซด์ กับทางไฟแนนท์บริษัทหนึ่ง มีเพื่อนเป็นคนค้ำประกัน วางเงินดาวน์ไป 9,000 บาท จะเริ่มผ่อนงวดที่ 1 วันที่ 2 -2-52 ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับเอกสารแจ้งให้ไปชำระเงิน จึงสอบถามไปยังบริษัท ไฟแนนท์ดังกล่าว ได้คำตอบว่าเพื่อนที่ค้ำประกันให้นำเงินสดไปตัดรถคันนี้มาแล้ว ให้เราผ่อนชำระกับเพื่อนเอง โดยบอกว่าเพื่อนกลัวว่าเราจะไม่ผ่อน หรือถ้าเกิดรถหายมีปัญหาเค้าจะต้องรับผิดชอบด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้เกิดน้องชายผ่อนหมดแล้วเพื่อนไม่โอนรถให้เราจะทำยังไง โดยการที่เค้าไปตัดรถมาไม่มีการแจ้งยกเลิกสัญญากับเราด้วย ถ้าเราไม่ผ่อนให้เพื่อนก็เท่ากับเราเสียเงินดาวน์ฟรี เพราะเพื่อนจะมาเอารถคืน ถ้าเป็นอย่างนี้เราจะทำอย่างไรกับบริษัทไฟแนนท์ได้บ้างค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

     

     

     

     

    คำตอบ
    ตั้งแต่ตอบคำถามมา ก็เพิ่งเคยเห็นคนที่ทำโง่ ๆ แล้วรู้ตัวและรีบแก้ไขเสียทันที ก็รายนี้แหละ  เพราะการไปค้ำประกันคนนั้น ไม่ใช่จะต้องรับผิดชอบเฉพาะค่ารถเท่านั้น เมื่อใดที่คนซื้อไม่ส่งเงิน เขาก็จะมาเอาจากคนค้ำประกันพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยยี่สิบกว่า  ผ่านไปไม่กี่มากน้อยก็ท่วมต้น  การที่เขาเอาเงินสดไปชำระเสีย เท่ากับเป็นการจำกัดความเสียหายของตัวเองไว้เพียงเท่าที่ไม่เกินค่ารถที่ยังค้างอยู่ ถ้าน้องชายคุณยังส่งเงินให้เขาตามปกติ เขาก็ลดความเสียหายลง แต่เมื่อไรที่ไม่ส่ง เขาก็คงเสียหายเพียงเท่าที่เงินยังค้างอยู่    สำหรับทางด้านของคุณที่กลัวว่าเขาไม่ยอมโอนรถให้นั้น ก็อาจแก้ไขได้โดยการไปทำสัญญากับเขาว่าเมื่อผ่อนชำระให้หมดแล้ว ให้เขาโอนให้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 กุมภาพันธ์ 2552