ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037294 การค้ำประกันเอกชัย28 กันยายน 2552

    คำถาม
    การค้ำประกัน

    กราบเรียน  ท่านอาจารย์มีชัย

    กระผมมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการค้ำประกัน ครับ  เรื่องมีอยู่ว่า พ่อผมไปค้ำประกันญาติซึ่งได้เช่าซื้อรถยนต์ จากบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเป็นรถยนต์มือสอง โดยได้เซ้นคำประกัน และได้นำสำเนาโฉนดที่ดินหนึ่งแปลง โดยลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องเพื่อเป็นการค้ำประกันด้วย  ซึ่งต่อไปรถยนต์ถูกยึดและนำขายทอดตลาดซึ่งปรากฎขาดขาดทุน  ยังคงเป็นเหลือยอดเงินที่จะต้องชำระหนี้อีก ประมาณ 100,000 บาท  ผมขอเรียนถามดังนี้

    1.ถ้าญาติไม่ชำระหนี้ บริษัทจะสามารถฟ้องยึดที่ดินได้หรือไม่ซึ่งเป็นสำเนาโฉนดที่เซ้นรับรองสำเนาถูกต้อง โดยที่ไม่ใช่ตัวจริง

    2.ถ้าเราได้ชำระหนี้ไปแล้ว จะมีอายุความในการฟ้องร้องกี่ปี่  ในการฟ้องผู้เช่าซื้อซึ่งเราได้ค้ำประกัน

    3.ที่ดินแปลงที่ได้นำไปค้ำประกันจะโอนให้ลูกได้หรือไม่

    4.ถ้าพ่อเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์สินของแม่ บริษัทจะมาฟ้องเพื่อไปชำระหนี้ได้หรือไม่

    ขอพระคุณอย่างสูงครับ  ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงครับ

     

    คำตอบ

    เรียน คุณเอกชัย

    1. ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็มาเอาจากผู้ค้ำประกัน และถ้าผู้ค้ำประกันไม่ชำระ เขาก็มายึดทรัพย์ของผู้ค้ำประกัน เมื่อที่ดินนั้นเป็นทรัพย์ของผู้ค้ำประกัน เขาก็มายึดได้

    2. สิบปี

    3. โอนได้ แต่ต้องระวังอาจเข้าข่ายโกงเจ้าหนี้ได้ (การโกงเจ้าหนี้เป็นความผิดอาญา)

    4. ทรัพย์ในกองมรดกไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้จัดการมรดกเจ้าหนี้มายึดไม่ได้ เว้นแต่ผู้จัดการมรดกมีส่วนในทรัพย์สินนั้น ซึ่งเจ้าหนี้อาจยึดได้ไม่เกินส่วนนั้น


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 กันยายน 2552