ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039786 บุริมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองกรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ถึงแก่กรรมวิทย์ วงศ์สว่าง3 เมษายน 2553

    คำถาม
    บุริมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองกรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ถึงแก่กรรม

     เรียนท่านอาจารย์ มีชัย ที่เคารพ

         ผมมีข้อสงสัยในข้อกฏหมายโดยมีข้อเท็จจริงดังนี้คือ บริษัท abc ได้ทำสัญญากู้เงินวงเงินเครดิตหมุนเวียนกับธนาคาร เมื่อปี 2540  โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมอาคารโรงงานกรรมสิทธิ์ของนาย ก.(เป็นกรรมการผู้จัดการของ บริษัทabc) เป็นหลักประกันไว้กับธนาคาร พร้อมทั้งนาย ก.ได้ลงนามสัญญาค้ำประกันวงเงินเครดิตดังกล่าวไว้ด้วย  ต่อมาในปี 2550 นาย ก. ได้ถึงแก่กรรมลง และผู้จัดการมรดก(ภรรยาของนาย ก.) ก็ยังมิได้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์จำนองดังกล่าวเป็นของผู้ใดทั้งสิ้นจนถึงปัจจุบัน และบริษัท abc ก็ยังคงใช้วงเงินเครดิตหมุนเวียนจนเป็นปกติถึงปัจจุบัน

        คำถามครับ

    1.ธนาคารยังคงมีบุริมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองดังกล่าวอยู่จนถึงปัจจุบันหรือไม่

    2.ผู้จัดการมรดกและหรือทายาทผู้รับมรดก(เป็นผู้หุ้นและผู้บริหารของบริษัท abc)ในทรัพย์จำนองดังกล่าวจะยกเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดชอบในภาระหนี้ของบริษัทabc ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้และขอไถ่ถอนการจำนองโดยปฎิเสธการชำระภาระหนี้ของบริษัทabc ได้หรือไม่

    ขอบพระคุณท่านอาจารย์มีชัยมากครับ

     

    คำตอบ

    1. เมื่อจดทะเบียนจำนองไว้แล้ว ภาระนั้นก็ติดทรัพย์นั้นเรื่อยไปจนกว่าจะปลดจำนอง ไม่ว่าที่ดินนั้นจะตกไปเป็นของใคร

    2. ไม่มีเจ้าหนี้ที่ไหนเขายอมให้ปลดจำนองโดยไม่ชำระหนี้หรอก


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 เมษายน 2553