ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052531 การตีความกฏหมายในทางกลับตรงกันข้ามวิศรุต1 กรกฎาคม 2560

    คำถาม
    การตีความกฏหมายในทางกลับตรงกันข้าม
    เรียนถามท่านอาจารย์ที่เคารพ

    รบกวนเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ข้อกฎหมายสามารถตีความกลับในทางตรงกันข้ามได้หรือไม่

    ขออนุญาตยกตัวอย่าง
    ปวอ. มาตรา 126 ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้
    ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อมไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการทึ่จะฟ้องคดีนั้น


    คำถามที่จะเรียนถามท่านอาจารย์ก็คือ ในวรรค 2 จะสามารถตีความในทางกลับตรงกันข้ามว่า


    ในคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อมตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการทึ่จะฟ้องคดีนั้น

    ได้หรือไม่ครับ

    ถ้าได้ รบกวนถามเพิ่มเติมคือ กฏหมายทุกมาตรา หรือมาตราแบบใด ที่สามารถตีความในทางกลับตรงกันข้ามได้

    ขอแสดงความนับถือ
    วิศรุต












    คำตอบ
    เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของการตีความกลับ แต่เป็นเรื่องของกฎหมายที่บัญญัติไว้ว่า คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์เสียภายใน ๙๐ วัน ถึงจะดำเนินคดีเอง หรือให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีต่อไปได้ ถ้าไม่มีคำร้องทุกข์ก็ดำเนินการไม่ได้ ดังนั้นถ้าไปร้องทุกข์แล้วถอนคำร้องทุกข์เสีย ก็เท่ากับไม่มีการร้องทุกข์ จึงฟ้องคดีหรือให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีไม่ได้ เพราะความผิดต่อส่วนตัวนั้นถ้าคนที่เสียหายไม่เอาเรื่อง ใครจะไปดำเนินการอะไรได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 กรกฎาคม 2560