ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052546 ปรับเงินเดือนข้าราชการข้าราชการคนหนึ่ง13 กรกฎาคม 2560

    คำถาม
    ปรับเงินเดือนข้าราชการ
    เรียน อาจารย์มีชัยค่ะ

        กฎหมายระเบียบข้าราชการประเภทหนึ่ง กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใดระดับใดได้รับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนตามประเภทและระดับนั้น การปรับบัญชีเงินเดือนสูงขึ้นหากเกินร้อยละ 10 ต้องตราเป็น พ.ร.บ.

    ต่อมาได้มีการเสนอให้ ครม.เยียวยาข้าราชการเพื่อให้ได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมเป็นธรรม (ก่อนหน้าไม่นาน ได้มีการแก้ไขกฎหมายกรณีเยียวยาให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมเป็นธรรม โดยให้ ครม. พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ) โดยให้ข้าราชการทุกคนที่ได้รับเงินเดือนตัน ขยายเพดานเงินเดือนไปรับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้นได้ ซึ่งตามข้อเท็จจริง ถือเป็นการปรับบัญชีเงินเดือนที่สูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 10 และมิใช่เป็นการเยียวยาเป็นกรณีๆ ไป

    ในฐานะที่เป็นข้าราชการและเป็นผู้เสียภาษีคนหนึ่ง มีคำถามว่าเหตุใดองค์กรที่เกี่ยวข้องจึงไม่กำกับให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา โดยปรับบัญชีเงินเดือนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแทนที่จะเลี่ยงกฎหมายโดยการขยายเพดานเงินเดือน

    หากหน่วยงานที่เป็นหลักในการบริหารบุคคลภาครัฐ ยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ราชการประเทศนี้จะหาที่พึ่งได้จากที่ใด







    คำตอบ

    เขาอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕๐/๑ ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

    มาตรา ๕๐/๑  ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้  ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด



    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 กรกฎาคม 2560