ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015555 รบกวนอาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างในเรื่องการแบ่งมรดกซ้อนมรดกด้วยคับคนไม่รู้กฏหมาย4 ธันวาคม 2548

    คำถาม
    รบกวนอาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างในเรื่องการแบ่งมรดกซ้อนมรดกด้วยคับ

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

    เนื่องจากผมมีเหตุการณ์และปัญหาอยากจะถามอาจารย์ดังนี้

    1. บิดาของผมได้เสียชีวิตไปเมื่อปี 2543 โดยก่อนพ่อตายพ่อได้รับที่ดินมาจากย่า และถูกเวณคืน ได้เงินมาจำนวนหนึ่ง และได้ซื้อที่ดินโดยมีรายละเอียดดังนี้

      1.1 พ่อได้นำเงินที่ได้รับเวณคืนมาซื้อที่ดินของคุณตาจำนวน 2 แปลง และในระหว่างนั้นคุณตาได้ทำการแบ่งที่ดินให้กับลูก ๆ ทั้งหมดของท่าน โดยคุณแม่ได้รับส่วนแบ่งเป็นที่ดินจำนวน 1 แปลง แต่ได้ทำการโอนพร้อมกันกับที่ดินที่คุณพ่อได้นำเงินไปซื้อมา และในการโอนครั้งนี้ได้ทำการโอนเป็นชื่อคุณแม่ทั้งหมด เพื่อความสะดวกในการโอน โดยระบุในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินว่า เป็นการโอนให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน ผ้รับให้เป็นบุตรสาวของผู้ให้

     

    1.2 เป็นชื่อของพ่อและแม่ 2 แปลง

    ลูกๆ ทั้ง 4 ให้แม่เป็นผู้จัดการมรดกของบิดา แต่แม่ไปโอนเป็นชื่อแม่ทั้งหมด (ไม่ได้สลักหลังฉโนดว่าในนามผู้จัดการมรดก)

    2. ต่อมา แม่ได้เสียชีวิตลงในปี 2547 โดยยังไม่ทันได้แบ่งมรดกให้แก่ลูกๆ ทั้ง 4 คน

    อยากทราบว่าจะสามารถแบ่งแยกที่ดินที่คุณพ่อได้นำเงินมาซื้อออกมาจากส่วนนี้ได้หรือไม่ อย่างไร ( ก่อนที่จะทำการแบ่งมรดกของแม่ให้กับคุณตา คุณยายและ บุตร ทั้ง 4 คน) 

    3. ปู่-ย่า เสียชีวิต ก่อนพ่อ , ตา- ยายยังมีชีวิตอยู่

    4. ลูกๆ ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของแม่ แต่ทางยายไม่ยอม ขอเป็นร่วม และศาลตัดสินให้เป็นผู้จัดการร่วม (เพราะหลานๆยอมให้เป็น) ต่อมา ตาเสียชีวิตลงโดยที่ กองมรดกของแม่ยังไม่ได้ทำการแบ่ง แก่ทายาท(ลูกทั้ง 4 ตา และ ยาย) ทางน้าเข้ามาร้องสิทธิ์เข้ารับมรดกแทนที่ตา อยากทราบว่า น้าๆ มีสิทธิ์ในกองมรดกของแม่แทนตาหรือไม่

    5.ลูกๆสามารถร้องขอแบ่งทรัพย์ตอนพ่อเสียออกจากกองมรดกของแม่ได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำอย่างไร

    และ

    มาตรา 1641

    ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (2) หรือ (5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้ แก่ทายาทนั้นเท่านั้นห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป
     
    ถ้าทายาทตามมาตรา 1629 (2) เสียชีวิตหลังเจ้ามรดกตาย ( เจ้ามรดกเป็นบุตรของทายาท มาตรา 1692 ( 2 )  ) อยากทราบว่ามรดกจะตกสู่ทายาทลำดับที่เท่าไร ใครมีสิทธิ์เข้ารับแทนได้หรือไม่ หรือตกกลับสู่กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งตามเดิม

    มาตรา 1643

    สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบ สันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่ 
     
    หมายความว่าอย่างไร
    คำตอบ

    เรียน คนไม่รู้กฎหมาย

          ข้อที่อ้างอิงต่อไปนี้ เป็นการอ้างอิงตามข้อที่ถามมา

          2.  ถ้ามีหลักฐานว่าพ่อนำเงินส่วนที่ได้มาจากเวนคืนไปซื้อที่ดิน ๆ นั้นก็เป็นสินส่วนตัวของพ่อ และลูก ๆ มีสิทธิขอแบ่งออกมาจากกองมรดกเพื่อแบ่งกันระหว่างทายาทของพ่อได้

         4.  เมื่อน้า ๆ เป็นลูกของตา บรรดาน้าจึงเป็นทายาทลำดับต้นของตา จึงมีสิทธิรับมรดกของตาได้

         5. คำนวณแบ่งออกมาก่อนได้ แต่ต้องรับรู้สิทธิของมารดาที่จะได้รับมรดกจากบิดาในฐานะที่เป็นคู่สมรสด้วย

         มาตรา 1641  ถ้าทายาทตามมาตรา 1629 (๒) (อันได้แก่บิดามารดา)  ตายภายหลังเจ้ามรดก ก็แปลว่ามรดกของผู้ตายได้ตกไปเป็นของทายาทลำดับที่ 1629 แล้ว นับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ทรัพย์สินส่วนที่ตกไปเป็นของทายาทดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินของทายาทนั้น และเมื่อทายาทนั้นตายไป ทรัพย์สินนั้นก็ตกไปยังทายาทของคนนั้นอีกต่อหนึ่ง  เช่น เมื่อนาย ก.ตาย มีมรดกตกได้แก่บิดามารดาคนละ 2 ล้านบาท สิทธิในเงินดังกล่าวย่อมได้แก่บิดามารดาตั้งแต่วันที่ นาย ก.ตาย ต่อมาถ้าบิดามารดาดังกล่าวตาย เงินนั้นถ้ายังอยู่ ก็ตกไปเป็นของทายาทของบิดามารดา คือเป็นของลูกที่ยังมีชีวิตอยู่ และไล่ลงไปตามลำดับ

         มาตรา 1643  หมายความว่าการรับมรดกแทนที่นั้นไหลลงสู่สายเลือดข้างล่าง ไม่ไหลย้อนกลับขึ้นข้างบน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 ธันวาคม 2548