เรื่องการหลีกเลี่ยงไม่มาแสดงตนเพื่อเข้ารับการตรวจเลือกเข้ากองประจำการ
เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ที่เคารพ
กระผมมีคำถามที่จะมาเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องการเกณฑ์ทหาร ดังนี้
1. ในปี พ.ศ.2541 กระผมถูกดำเนินคดีในข้อหา "หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกเพื่อเข้ารับการตรวจเลือกเข้ากองประจำการ" ข้อหานี้เข้าข่ายการหนีทหารหรือไม่ครับ
2. เมื่อโดนฟ้องต่อศาลแล้ว ศาลพิพากษา จำคุก 15 วัน ปรับ 150 บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี เช่นนี้จะถือว่าเป็นคดีลหุโทษ ซึ่งเป็นข้อหาสถานเบาที่ทำให้เราไม่เสียสิทธิในการรับราชการ โดยเฉพาะทหาร-ตำรวจหรือไม่ครับ
3. จากข้อ 2. ถ้าเป็นคดีลหุโทษแล้ว ทางราชการทหารหรือตำรวจ จะถือว่าข้อหาที่กระผมถูกฟ้องต่อศาล และมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วนั้น เข้าข่ายกระทำผิดต่อศีลธรรมอันดีหรือขัดต่อความสงบสุขเรียบร้อย อันเป็นข้อห้ามไม่ให้เข้ารับราชทหาร-ตำรวจ หรือไม่ครับ
4. ในปีเดียวกับที่ถูกฟ้องคือปี พ.ศ. 2541 นั้น กระผมได้ทำเรื่องขอผ่อนผันต่อ เนื่องจากยังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และในปีถัดมากระผมได้ไปเกณฑ์ทหารตามปกติ โดยไม่มีการจับใบดำใบแดง เนื่องจากในปีนั้นมีคนสมัครเป็นทหารเต็มอัตรา และในใบ สด.43 ที่ผมได้รับมาในวันนั้นระบุว่า "ปล่อยเพราะรับคนร้องขอพอ" ดังนั้น การที่กระผมได้ไปเกณฑ์ทหารอย่างถูกต้องเช่นนี้ ในทางกฎหมายแล้วกระผมไม่ได้กระทำการ "หนีทหาร" ใช่หรือไม่ครับ (ขออนุญาตถามย้ำเพื่อที่จะอธิบายรายละเอียดจากข้อ 1. ครับ)
5. ในทางกฎหมายการที่จะถือว่าบุคคลนั้นหนีทหาร บุคคลนั้นจะต้องกระทำการใดหรืองดเว้นกระทำการใดบ้างครับ จึงจะเป็นความผิดฐานหนีทหาร
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ |