ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045566 อ่านอย่างไรถูกต้องสบโชค28 สิงหาคม 2554

    คำถาม
    อ่านอย่างไรถูกต้อง

    เรียน  ท่านอาจารย์มีชัย    ที่เคารพ

             ผมอ่านกฎหมายบางฉบับที่มีการแก้ไข  แต่ไม่ทราบว่าที่ถูกต้องอ่านอย่างไร  เห็นกูรู บางท่านอ่านไม่เหมือนกันเช่น

             1. ทศ  อ่านว่า  ทด  หรือว่า  ทะ-สะ

             2. เอกาทศ  อ่านว่า  เอ-กา-ทด   หรือว่า เอ-กา-ทะ-สะ มีความหมายว่าอย่างไรครับ

              3. เตรส  อ่านว่า  เต-รด  หรือว่า เต-ระ-สะ  มีความหมายว่าอย่างไรครับ

              4. โสฬส  อ่านว่า  โส-ระ-สะ  หรื่อว่า โส-รด  มีความหมายว่าอย่างไร

              5. เอกูนวีสติ อ่านว่า  เอ-กูน-วี-สะ-ติ หรือ เอ-กู-นะ-วี-สะ-ติ มีความหมายว่าอย่างไร

              6. เอกวีสติ อ่านว่า เอก-วี-สะ-ติ หรือ เอ-กะ -วี-สะ-ติ  มีความหมายว่าอย่างไร

              7.กฎหมายบางฉบับที่มีการเพิ่มเติม จะใช้คำว่า / แทน  เช่น แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25  มาตราที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่จะใช้  25/1  25/2  25/3  ดังนี้เป็นต้น  แต่บางฉบับ  จะใช้ตาม ข้อ 1-7 รบกกวนอาจารย์ช่วยตอบและอธิบายความแตกต่างด้วยครับ ซึ่งในข้อ 1-6  จะมีใช้ใน พ.ร.บ.เทศบาลครับ

    คำตอบ

    1. อ่านว่า ทด

    2. อ่านว่า เอกาทด แปลว่า สิบเอ็ด

    3. อ่านว่า  เต ระสะ  แปลว่า  สิบสาม

    4. อ่านว่า โส - รด  แปลว่า สิบหก

    5. อ่านว่า เอ กูน วี สะ ติ แปลว่า สิบเก้า

    6. อ่านว่า เอ กะ วี สะติ แปลว่า ยี่สิบเอ็ด

        กฎหมายเก่า ๆ เวลาจะเพิ่มมาตราขึ้นในระหว่างมาตราที่มีอยู่แล้ว   จะเพิ่มมาตรา  ใหม่ ระหว่างมาตรา ๒๑ กับมาตรา ๒๓ ก็จะใช้ มาตรา ๒๑ ทวิ  มาตรา ๒๑ ตรี  มาตรา ๒๑ จัตวา  ซึ่งแปลว่า มาตรา ๒๑ สอง มาตรา ๒๑ สาม และมาตรา ๒๑ สี่  ต่อมาเมื่อมีการเพิ่มมาก ๆ ขึ้น เป็น ๒๐  - ๓๐ มาตรา เมื่อต้องใช้คำบาลีต่อท้าย คนทั่วไปก็จะไปเข้าใจว่าอยู่ในลำดับที่เท่าไร เพราะแปลบาลีไม่ออก  คนสมัยใหม่จึงเปลี่ยนเป็น เลขทับ  เช่น มาตรา ๒๑/๑ มาตรา ๒๑/๒ มาตรา ๒๑/๓ ก็จะทำให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น   แต่ถ้าเป็นการแก้ไขกฎหมายเก่าที่ใช้ ทวิ ตรี จัตวาอยู่แล้ว เวลาแก้ไขใหม่ ก็ต้องใช้แบบเดิมไปก่อน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 สิงหาคม 2554