ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046042 อำนาจของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงสุระยัน22 ธันวาคม 2554

    คำถาม
    อำนาจของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง

    เรียนท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพอย่างสูง

    ขอเรียนถามท่านอาจารย์ ตามสรุปข้อกฎหมายและประเด็นคำถาม ดังนี้ครับ

    ๑. ข้อกฎหมาย

    หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง ที่มีพรบ.จัดตั้งเฉพาะ เช่น สสส. สช. สปสช. สกว. หรือ สพฉ. ในพรบ.จัดตั้งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐนั้น มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรมต. และให้มีคณะกรรมการ หนึ่งคณะมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและรวมถึงควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐนี้ให้ดำเนินกิจการไปตามวัตถุประสงค์และแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพรบนี้ได้. ขณะเดียวกันในพรบ.ให้มีผอ.หรือเลขาธิการ เป็นผู้รับผิดชอบบริหารกิจการของหน่วยงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ และตัวเลขาธิการทำสัญญาจ้างกับประธานกรรมการ

    ๒.ประเด็นคำถาม (๒.๑) คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในเชิงบริหารหน่วยงานนั้นได้หรือไม่ เช่น ตั้งอนุกรรมการบริหาร กำหนดให้มีอำนาจอนุมัติการจัดหาพัสดุ ไม่เกิน ... ล้าน หรืออะไรทำนองนี้ ที่เดิมเป็นอำนาจหน้าที่ของผอ.หรือเลขาธิการ (๒.๒) หากมีการร้องเรียนจากบุคคลภายนอกที่ไม่ประทับใจกิจการของหน่วยงานหรือไม่พอใจนโยบายของคณะกรรมการและผอ.หรือเลขา(เรื่องร้องเรียนมิได้มาจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ) โดยร้องเรียนไปที่รมต.ผู้มีอำนาจกำกับดูแลหน่วยงานนั้น หากรมต.จะออกคำสั่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยอาศัยมาตราที่ระบุว่า หน่วยงานนี้อยู่ภายใต้กำกับดูแลของรมต.แล้ว คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับการแต่งตั้ง จะมีอำนาจเพียงใด เช่น เรียก ผอ.หรือเลขา หรือเจ้าหน้าที่มาสอบได้หรือไม่  เพราะคณะกรรมการนโยบายไม่ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง  รมต.แต่งตั้งเองตามข้อร้องเรียนของบุคคลภายนอก  (๒.๓)ถ้าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงมีอำนาจเรียกบุคคลมาสอบหรือให้ถ้อยคำ อำนาจดังกล่าวมาจากฐานอำนาจใด ผู้ที่ถูกเรียกไปสอบมีสิทธิอ้างให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงปฏิบัติตามพรบ.วิปฏิบัติทางปกครอง เช่นต้องแจ้งประเด็นมาก่อน หรือขอให้ถ้อยคำเป็นหนังสือได้หรือไม่ 

                    รบกวนท่านอาจารย์ช่วยให้ความเห็นในแต่ละประเด็นด้วยครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

    อนึ่งผมได้ศึกษาความเห็นกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ ๕๖/๒๕๓๘ เป็นกรณีของการไฟฟ้าซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่แน่ใจว่าจะเทียบเคียงได้เพียงใด  

                                                         สุระยัน

     

    คำตอบ

    กฎหมายของแต่ละองค์กรบางทีก็ไม่เหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว เพราะบางองค์กรก็ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลองค์กร และเรียกให้ชี้แจงในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องได้ บางองค์กรก็เขียนให้กำกับเฉย ๆ  ในการกำกับรัฐมนตรีอาจตั้งคณะบุคคลให้สืบสวนหาข้อเท็จจริงแทนรัฐมนตรีได้ ถ้ากฎหมายไม่ได้ระบุให้มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการ การตั้งคณะกรรมการก็เหมือนกับเวลารัฐมนตรีอยากกินกาแฟ ก็เลยวานคนหน้าห้องไปชงให้ คนนั้นเขาก็ไปชงมาให้ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านั้น  ส่วนในการไปชงกาแฟ คนนั้นจะเรียกนักการภารโรงมาถามว่ากาแฟอยู่ไหน น้ำร้อนอยู่ไหน ช้อนอยู่ไหน ถ้าคนที่ถามเป็นผู้มีอำนาจเหนือนักการ ๆ ก็คงต้องตอบ แต่ถ้าเป็นคนนอกที่บังเอิญผ่านมาแวะเยี่ยมรัฐมนตรี ภารโรงใจดีก็คงตอบให้ เกิดอารมณ์ไม่ดีเดินหนีไปเสีย ก็คงไม่รู้จะทำอะไรได้   ถามกว้าง ๆ ก็เลยต้องยกตัวอย่างกว้าง ๆ ไปเทียบเคียงเองก็แล้วกัน ส่วนเรื่องเสร็จที่อ้างมานั้น ไม่รู้จริง ๆ ว่าเป็นเรื่องอะไร และวินิจฉัยว่าอย่างไร เพราะไม่รู้จะไปดูที่ไหน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 ธันวาคม 2554