ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046104 การนำข้อมูลข่าวสารของทางราชการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเอกวิทย์11 มกราคม 2555

    คำถาม
    การนำข้อมูลข่าวสารของทางราชการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และพรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547

    เรียนอาจารย์มีชัย

    1.      ตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

    -        บทนิยามตมาตรา 4 กำหนดว่า “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ...องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ... และ

              -   มาตรา 7 กำหนดว่า “หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพิ์ในราชกิจจานุเบกษา”

              (4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี  ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน  ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ  ทั้งนี้  เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง

              -    มาตรา 8 กำหนดว่า “ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ตามมาตรา 7 (4) ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพิ์ในราชกิจจานุเบกษา จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้ เว้นแต่ ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร”

              -   มาตรา 42 วรรคแรก กำหนดว่า “ บทบัญญัติมาตรา 7 มาตรา 8 ...มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”

              2. ตามพรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547

              -  มาตรา 7 กำหนดว่า “สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

              (3) กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี ....”

              -  มาตรา 34 วรรคสาม กำหนดว่า “มาตรฐานการบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีและปรับปรุงเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้”

              ผมมีประเด็นสอบถามดังนี้

    1.      สภาวิชาชีพต่างๆ รวมถึงสภาวิชาบัญชี ถือว่าอยู่ในความหมายของ “หน่วยงานของรัฐ” ใช่หรือไม่

    2.      มาตรฐานการสอบบัญชี ถือว่าเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการตามาตรา 7 ใช่หรือไม่

    3.      มาตรฐานการสอบบัญชี ที่ออกบังคับใช้ตั้งแต่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งมีมาก่อนพรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ถือว่าเข้าข้อยกเว้น ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง

    4.      หากสภาวิชาชีพบัญชีจะยกเลิกมาตรฐานการสอบบัญชีฉบับเดิม และให้ใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ สภาวิชาชีพบัญชีต้องมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 (4) หรือไม่ เพราะพรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ไม่ได้กำหนดให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่นเดียวกับมาตรฐานการบัญชีมาตรามาตรา 34 วรรคสาม

    5.      ตามข้อ 4 หากสภาวิชาชีพบัญชีประกาศใช้มาตรฐานการสอบบัญชีฉบับใหม่โดยไม่นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผลจะเป็นอย่างไร

              6.  ในการยกร่างพรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ซึ่งออกใช้บังคับวันที่ 23 ตุลาคม 2547 อันเป็นการออกใช้บังคับหลังจากวันที่พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ แต่ไม่ได้กำหนดเรื่องนำมาตรฐานการสอบบัญชีไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ทราบว่ามีเจตนารมณ์ในการยกร่างพรบ.วิชาชีพบัญชีดังกล่าว เป็นอย่างไร

     

    ขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ครับ

    เอกวิทย์

    คำตอบ

    คำถามที่เกิดขึ้นจากกรณีที่มีข้อพิพาทกันอยู่ ขออนุญาตไม่ตอบ เพราะตอบไปอาจไปเข้าลักษณะการยุให้ทะเลาะกัน และถ้าอีกข้างหนึ่งมาถามด้วย  ก็จะกลายเป็นกรณีผู้ตอบมีเรื่องกับผู้ตอบ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 มกราคม 2555