พ.ร.บ. ล้างมลทิน
เรียน ท่าอาจารย์มีชัย
กระผมอยากจะถามว่า พ.ร.บ. ล้างมลทินมีความครอบคลุมได้มากน้อยเพียงใด
กรณีของผมคือ ณ ปัจจุบันผมสอบผ่านวิชาว่าความของสำนักฝึกอบรมแห่งสภาทนายความแล้วแต่กำลังรอการขึ้นทะเบียนอยู่ ซึ่งการที่จะเป็นทนายความได้นั้นจะต้องเป็นสามัญสมาชิก หรือวิสามัญสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภา ตอนนี้ผมยังไม่ได้เป็นสามัญสมาชิก ก็เลยใช้วิธีการสมัครขึ้นทะเบียนเป็นวิสามัญสมาชิกแทน ซึ่งผมก็จบในมหาลัยแห่งหนึงใน 5 แห่งที่เนติบัณฑิตฯให้การรับรองว่าสามารถขึ้นทะเบียนเป็นวิสามัญได้ แต่ทางเนฯไม่รับผมเป็นสมาชิกในการขึ้นทะเบียนหลังจากทางคณะกรรมการใช้เวลาพิจารณาร่วม 3 เดือน โดยให้เหตุผลว่า กระผมเคยต้องโทษในคดีมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่รับกระผมเป็นสมาชิก
กระผมใคร่เรียนถามท่านอาจารย์ว่ากรณีนี้ตามข้อบังคับของเนฯไม่มีระบุว่าไม่รัยผู้เคยต้องโทษ ในใบสมัครเพียงบอกว่ากรณีเคยต้องโทษให้แนบสำเนาคำพิพากษามาด้วย แต่มีใข้อบังคับมีเพียงว่าให้คำนึงถึงความสมควรที่ผู้สมัครจะพึงได้รับเกียรติเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑตฯหรือไม่ด้วย และประกอบกับถ้าคณะกรรมการมีความเห็นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่รับผู้ใดเป็นสมาชิกแล้ว ผู้นั้นสามารถยื่นสมัครสมาชิกประเภทนั้นได้อีกใน 1 ปี นับแต่วันที่ไม่รับการเป็นสมาชิก
กระผมอยากทราบว่ากรณีอย่างนี้จะขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญในส่วนของสิทธิเสรีภาพของประชาชนไหมครับเพราะมิใช่การสมัครเข้ารับราชการแต่อย่างใด หากขัดควรทำอย่างไร และอยากทราบว่าสมมุติหากพ.ร.บ. ล้างมลทิน ที่ยังค้างอยู่ในสภาผ่านการพิจารณาตามทุกขั้นตอนแล้ว และออกเป็นกฎหมายใช้บังค้บ ซึ่งเป็นข้อความเดิมเหมือนกับของ ปี 2550 กระผมจะถือว่าไม่เคยต้องโทษและจะสามารถสมัครสมาชิกในประเภทนี้ที่เคยสมัครไปโดยไม่แนบคำพิพากษาไปด้วยได้หรือไม่ และเค้าจะยังเอาหัวข้อการเคยต้องโทษมาพิจารณาได้อีกหรือไม่
และหากผมจะสมัครเป็นสามัญสมาชิกเพื่อเรียนเนฯทางเนฯเค้าจะพิจารณารับหรือไม่ กรณีที่ยังไม่มีการล้างมลทิน และ กรณีหลังหากมีการล้างมลทินแล้ว
ผมต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ล่วงหน้าด้วยที่ช่วยตอบคำถาม ในคำถามอาจจะไปพาดพิงถึงหน่วยงานอื่นอยู่บ้างแต่ปัญหานี้มีผู้ประสบเหมือนเช่นกับผมเป็นจำนวนมากจึงอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบให้ด้วยนะครับ เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป และหากทุกอย่างเป็นไปได้กระผมจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นทนายความได้ดังที่ตั้งใจไว้ต่อไป
ขอแสดงความนับถือ |