ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046236 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยสภาคณาจารย์และข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545อาจารย์เสนีย์ เจริญสุข สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี7 กุมภาพันธ์ 2555

    คำถาม
    ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยสภาคณาจารย์และข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

    กราบเรียน ศ.ดร.มีชัย ฤชุพันธุ์ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

                 เนื่องจากกระผม นายเสนีย์ เจริญสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาวิชานิติศาสตร์ และได้เสนอหัวข้อดุษฎีนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับการตราข้อบังคับมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และจากการได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ว่าด้วยสภาคณาจารย์และข้าราชการ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 นั้น

               กระผมใคร่มีข้อสงสัย ในคำนิยาม ข้อ 4 คำว่า "ข้าราชการ" หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภททั่วไป........และให้ความรวมถึงพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชียวชาญเฉพาะ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร"

               กระผมมีความเห็นว่า น่าจะขัดกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 23  บัญญัติหลักว่า สภาคณาจารย์และข้าราชการ ประกอบด้วยประธานและกรรมการ ซึ่งเลือกจากคณาจารย์ประจำและข้าราชการของมหาวิทยาลัย จึงแบ่งองค์ประกอบของสภาคณาจารย์และข้าราชการ ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคณาจารย์ประจำ และกลุ่มข้าราชการของมหาวิทยาลัยที่มิได้เป็นคณาจารย์ประจำ

               คณาจารย์ประจำ หมายถึง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ทำหน้าที่สอนและบุคลากรซึ่งไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ (1) อาจารย์ประจำตามสัญญาจ้างฯ (2) พนักงานราชการสายผู้สอนตามระเบียบสำนักนายกฯ (3) พนักงานมหาวิทยาลัย โดยบุคคลทั้ง 3 ประเภทต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอนและทำงานประจำอยู่ในมหาวิทยาลัยที่สามารถดำรงตำแหน่งทางวิชาจารย์ จึงจะถือว่าเป็นคณาจาย์ประจำของมหาวิทยาลัย

               ข้าราชการ หมายถึง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่บรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการ...ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

               ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 869/2552, เรื่องเสร็จที่ 856/2550, เรื่องเสร็จที่ 446/2549

              หากท่านอาจารย์มีความเห็นประการใด ขอได้โปรดแสดงความเห็นจักเป็นพระคุณยิ่ง

                                       ขอแสดงความนับถือ

                                       นายเสนีย์ เจริญสุข

    คำตอบ
    เมื่อจะทำวิทยานิพนธ์ ก็คงต้องแสดงความเห็นเองกระมัง  อนึ่ง ความเห็นทางกฎหมายนั้น อาจเห็นแตกต่างกันได้ ข้อสำคัญความเห็นนั้นต้องขึ้นอยู่กับตัวบทกฎหมายที่ได้ดูอย่างรอบคอบ ลองดู ม.๖๕/๒ ของ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ ๒ ดูบ้างซี
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 กุมภาพันธ์ 2555