ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046248 การประดับเหรียญที่ระลึกประเภทแพรแถบครู ค.ศ.๓9 กุมภาพันธ์ 2555

    คำถาม
    การประดับเหรียญที่ระลึกประเภทแพรแถบ

    เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ

          ด้วยหน่วยงานของกระผมมีข้อสงสัยในเรื่องการประดับเหรียญที่ระลึกประเภทแพรแถบ และกระผมได้มีโอกาสได้อ่านคำตอบของอาจารย์ในเรื่องสิทธิในการประดับเหรียญแพรแถบที่ระลึก ตามคำถามที่ ๐๓๙๓๐๔  นั้น กระผมมีข้อสงสัยที่จะรบกวนเรียนถามในประเด็นซึ่งท่านอาจารย์ได้กรุณาอธิบายว่า ถ้าจะแปลตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด ก็ต้องแปลว่า คนที่จะมีสิทธิประดับได้นั้นต้องมีสภาพเป็น "บุคคล" (คือเกิดแล้ว) อยู่ในวันที่กฎหมายนั้นออกใช้บังคับหรือวันที่กำหนดให้มีสิทธิประดับได้ ซึ่งกระผมมีข้อสงสัยว่า การมีสภาพบุคคลนั้น ควรจะเป็นการมีอยู่ในวันที่กฎหมายนั้นออกใช้บังคับหรือวันที่กำหนดให้มีสิทธิประดับได้เท่านั้น หรือจะต้องรวมถึงการมีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่กฎหมายนั้นมีสภาพบังคับใช้อยู่หรือไม่ เช่น หาก พ.ร.บ.เหรียญดังกล่าวประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ และมีผลบังคับใช้อยู่ถึงปัจจุบัน โดยกำหนดให้ "บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้" ดังนั้น บุคคล ตามความดังกล่าวย่อมจะหมายถึง คนที่เกิดตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ จนถึงคนที่เกิดวันนี้ (๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) ซึ่งกฎหมายยังคงมีสภาพบังคับอยู่ด้วย

    ที่กระผมเรียนถามเช่นนี้เพราะมีข้อสงสัยว่า หากการตีความคำว่าบุคคลตามกฎหมายซึ่งไม่เฉพาะตาม พ.ร.บ.เหรียญต่างๆ นี้ แต่รวมถึงกฎหมายที่ได้บัญญัติในลักษณะเดียวกันว่าสภาพบุคคลจะต้องมีอยู่ในวันที่กฎหมายนั้นออกใช้บังคับหรือวันที่กำหนดให้มีสิทธิเท่านั้น ผู้ที่มิได้มีสภาพบุคคลในสองกรณีดังกล่าวก็ย่อมจะไม่ได้รับสิทธิหรือประโยชน์จากกฎหมายอีกหลายฉบับ ซึ่งรวมถึงรัฐธรรมนูญด้วย เช่น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ซึ่งตามมาตราต่างๆ กำหนดให้ "บุคคลมีสิทธิ....." โดยหากตีความตามที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาอธิบายดังกล่าว คนที่เกิดหลังวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ก็จะไม่ได้รับความคุมครองหรือการรับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เพราะมิได้มีสภาพบุคคลอยู่ในวันดังกล่าว

    จึงขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์ด้วยความเคารพครับ ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายของกระผมยังด้อยอยู่มาก หากอาจารย์จะกรุณาอธิบายก็จะเป็นประโยชน์แก่กระผมและผู้ที่สนใจในปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง กรณีการประดับเหรียญแพรแถบนี้ยังไม่มีความชัดเจนอยู่มากในวิธีการปฏิบัติ แม้แต่หนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้กำหนดระเบียบหรือวิธีการที่ชัดเจนหรือเป็นมาตรฐานไว้ ทุกวันนี้ที่ปฏิบัติกันอยู่ในหลายหน่วยงานก็เป็นการทำตามคำบอกเล่ากันเสียเป็นส่วนใหญ่ว่าควรแต่งหรือประดับกันอย่างไร แม้แต่กองการเจ้าหน้าที่หรือนิติกรก็ยังไม่ทราบ ทั้งๆ ทีี่เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะเป็นส่วนประกอบของเครื่องแบบเต็มยศของข้าราชการ ที่สำคัญเป็นเครื่องแบบที่ใช้สำหรับเฉพาะงานพิธีที่สำคัญของชาติอีกด้วย

    ขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่งครับ

    คำตอบ

    ช่วยคัดลอกมาให้หน่อยได้ไหมว่า ตอบไว้ว่าอย่างไร เพราะที่บอกมานั้นน่าจะยังไม่หมดคำตอบ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 กุมภาพันธ์ 2555