ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046395 การออกจาก หจก.กตัญญู2 มีนาคม 2555

    คำถาม
    การออกจาก หจก.

    คือญาติผมให้ไปเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดใน หจก.โดยให้ลงหุ้น1แสน แต่ตอนนี้หจก.กำลังแย่ โดนคู่ค้าผลักภาระเรื่องภาษี ทำให้โดนสรรพากรตรวจสอบอยู่

    ผมจึงตกลงกับณาติว่าจะลาออก เพื่อไม่ต้องมีปัญหาร่วมกับเขา โดยจะทำหนังสือชำระค่าหุ้นให้หจก จึงอยากถามว่า

     

    การที่เป็นหุ้นส่วนจำกัดแล้วต้องการลาออกจาก หจก.แล้วต้องการหลักฐานยืนยันว่าลาออกกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างนี้แล้วจริง ต้องทำอย่างไรบ้างครับ ส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนถึงหุ้นส่วนผู้จัดการได้ไหมครับ ต้องขายหุ้นส่วนที่ถืออยู่ด้วยหรือไม่ครับ แล้วต้องทำหนังสืออะไรเป็นหลักฐานยืนยันการซื้อขายไหมครับ

    แล้วการลาออกนั้นจะมีผลทันทีไหมครับถ้าหจก.ยังไม่ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้น

    หรือถ้าเรามีหลักฐานว่าเราชำระค่าหุ้นกับทางหจก.ครบตามจำนวนที่แจ้งไว้แล้ว เราก็ไม่ต้องรับผิดชอบหากเกิดมีการฟ้องร้องใช่ไหมครับ



    กรณีที่เราเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ถ้าการลาออกมีผล เราไม่ต้องรับผิดชอบอะไรหากเกิดการฟ้องร้องหลังจากนี้ถึงแม้ตอนที่เกิดเหตุ จะมีชื่อเราอยู่ใช่ไหมครับ คนละกรณีกับหุ้นส่วนผู้จัดการที่ต้องผูกพันไปอีก2ปีถูกไหมครับ



    ขอบคุณมากครับ

    คำตอบ

    การที่คุณเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน ก็คือการที่คุณไปลงทุนร่วมกับเขา ฐานะของความเป็นหุ้นส่วนจึงไม่ใช่ตำแหน่ง เหมือนกับคุณเป็นเจ้าของพัดลม ถึงอย่างไรคุณก็เป็นเจ้าของพัดลมนั้นอยู่วันยังค่ำ จะลาออกอย่างไร พัดลมนั้นก็ยังเป็นของคุณ เพราะการเป็นเจ้าของพัดลมไม่ใช่ตำแหน่ง จนกว่าคุณจะขายพัดลมนั้นให้คนอื่น พัดลมนั้นจึงจะไม่ใช่ของคุณอีกต่อไป   ถ้าคุณไม่ประสงค์จะดำรงความเป็นหุ้นส่วน คุณก็ได้แต่จะขายหุ้นนั้นให้คนอื่นไป เมื่อขายแล้ว คุณก็ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับห้างนั้นอีก


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 มีนาคม 2555