ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046445 ถามคำถามจักรกฤษณ์9 มีนาคม 2555

    คำถาม
    ถามคำถาม

    ผมได้ยื่นคำโต้แย้งต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 211 ไว้ต่อศาลอุทธรณ์ครับ ผมมีคำถามอยากเรียนถามอาจารย์ว่า 1.

    1. ศษลอุทธรณ์จะอ่านคำโต้แย้งของผมว่าจะส่งหรือไม่ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าบทบัญญัติที่ผมอ้างขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ก่อนที่จะพิพากษาใช่ไหมครับ ดังนั้นผมจึงยังไม่ต้องเตรียมเงินประกันตัวในชั้นฎีกาใช่ไหมครับ เพราะศาลอุทธรณ์ต้องแจ้งผมก่อนว่าจะส่งหรือไม่ส่งข้อโต้แย้งของผม และจะไม่อ่านคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ที่ผมเป็นจำเลยใช่ไหมครับ

    2. หากศาลอุทธรณ์สั่งว่าไม่ส่งข้อโต้แย้งของผมให้ศาลรัฐธรรมนูญ ผมจะต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์หรือว่าสามารถฎีกาได้เลยครับ เพราะข้อโต้แย้งของผมไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่ส่งให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเลยครับ

    คำตอบ

    1. ไม่แน่เสมอไป เพราะศาลท่านอาจวินิจฉัยมาพร้อมกับคำตัดสินเลยก็ได้ ถ้าเห็นว่าข้อโต้แย้งนั้นไม่มีเหตุผลเพียงพอ

    2. การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ก็ต้องยื่นต่อศาลฎีกาอยู่แล้ว


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 มีนาคม 2555