ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046634 การตีความข้อกฏหมายนายสุรศักดิ์ นาคนาคา3 เมษายน 2555

    คำถาม
    การตีความข้อกฏหมาย

    กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

    กระผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตีความข้อกฏหมาย ในกรณีที่รองนายทะเบียนสหกรณ์(สหกรณ์จังหวัด)ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียนสหกรณ์(อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์)ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายทะเบียนสหกรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฏหมายให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ปฏิบัติ....แต่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ 15 คน กลับมีความเห็นว่าสิ่งที่ รองนายทะเบียนสั่งให้ปฏิบัติ ไม่ตรงกับข้อกกหมาย(มีความเห็นต่างไปจากรองนายทะเบียน) เมื่อเกิดกรณีอย่างนี้จึงขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่า

    ๑.คณะกรรมการดำเนินการทั้ง ๑๕ คนสามารถทำข้อหารือเพื่อไปปฏิบัติโดยการทำเป็นหนังสือไปยัง นายทะเบียนสหกรณ์(อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์)ได้หรือไม่?

    ๒.การวินิจฉัยของนายทะเบียนสหกรณ์ถือว่าเป็นการสิ้นสุดแล้วใช่หรือไม่?

    ๓.การวินิจฉัยของนายทะเบียนสหกรณ์(อธิบดีฯ)หากคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ยังมีความเห็นต่างๆ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ขอให้คณะกรรมการกฤษฏีกาช่วยดำเนินการวินิจฉัยข้อปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่?โดยการร้องขอไปยังสำนักงานสหกรณ์จังหวัดให้เป็นต้นเรื่อง ในการส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยข้อปัยหาดังกล่าว

                                                ด้วยความเคารพอย่างสูง

                                                นายสุรศักดิ์  นาคนาคา

    คำตอบ

    1. ความเห็นที่ไม่ตรงกัน และต้องการจะหารือกัน ย่อมทำได้เสมอ จะทำเมื่อไรก็ได้

    2. -3. สหกรณ์จังหวัดปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้ ต้องอธิบดีในนามของกรม จึงจะปรึกษาได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 เมษายน 2555