ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046685 การปฏิบัติงานของสหกรณ์จังหวัดสมาชิกสหกรณ์ครูอีสาน13 เมษายน 2555

    คำถาม
    การปฏิบัติงานของสหกรณ์จังหวัด

    เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

    ตามที่อาจารย์ได้ให้คำตอบข้อกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ชุด A มีทั้งหมด 15 คน ไปทำการค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัทเอกชนเพื่อนำผลกำไรเข้าสหกรณ์ฯ  แต่ภายหลังทราบว่าเป็นเรื่องแชร์ลูกโซ่เพราะบริษัทดังกล่าวไม่ใช่คู่ค้าของกองสลากฯ  จึงมีการระงับการดำเนินการทำให้ทางสหกรณ์ฯ สูญเสียเงินไปจำนวน 452 ล้าน (สี่ร้อยห้าสิบสองล้านบาท) จนชุด A  หมดวาระในตำแหน่งไป  เมื่อเลือกตั้งใหม่ได้ชุด B แต่มีชุด A  มา 8 คน (1 ใน 8  เป็นประธานกรรมการ) 

    คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุด B ยังไม่สามารถติดตามเงินดังกล่าวจากบริษัทคู่สัญญาได้ สหกรณ์ไดตั้งค่าเผื่อมูลค่าความเสียการจัดหาสลากกินแบ่งรัฐบาลมาจำหน่ายจำนวน 452 ล้านเศษเต็มจำนวน แต่สหกรณ์ขอผ่อนผันในปีบัญชีนี้ได้ตั้งค่าเผื่อมูลค่าความเสียหายจำนวน 185 ล้านบาทเศษ  ที่ประชุมยังไม่รับรองงบดุลดังกล่าวครับ  แต่กำลังมีความพยายามของกรรมการชุด B  ที่จะให้มีการรับรองงบดุลนี้ให้จงได้   ท่านอาจารย์ได้กรุณาตอบแล้วว่า

    1. คณะกรรมการที่เป็นผู้ตัดสินให้ดำเนินการดังกล่าว จะต้องรับผิดชอบ

    2. ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการสหกรณ์ดำเนินการนอกขอบวัตถุประสงค์ (ดู ม. ๔๖ ให้ดี ๆ ) และเกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ สหกรณ์ก็ฟ้องคณะกรรมการให้รับผิดในความเสียหายได้ (ไม่ใช่คดีอาญา แต่เป็นคดีแพ่ง)

    3. ตัวสหกรณ์เอง หรือนายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ก็ฟ้องได้  โดยสหกรณ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ส่วนเรื่องอายุความนั้นตอบไม่ได้ เพราะไม่แน่ใจว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร  แต่อายุความในการฟ้องคดีทางแพ่งที่สั้นที่สุด คือ 1 ปี

    4. สมาชิกก็เข้าชื่อกันไปร้องต่อนายทะเบียนให้ฟ้องแทน   การถ่วงเวลาให้ขาดอายุความ กรรมการก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่ดี แต่เป็นความรับผิดในอีกแง่มุมหนึ่ง   กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามเชื่อได้ว่าสมาชิกทั้งปวงคงต้องเสียหายแน่ ๆ เพราะถึงฟ้องจนชนะคดี กรรมการเหล่านั้นก็คงไม่มีใครมีเงินมาชดใช้ค่าเสียหายได้ คงต้องยอมล้มละลาย

    ขอเรียนถามอาจารย์ต่อเนื่อง ดังนี้ครับ

    ตามข้อ 1  กรรมการเหล่านั้นก็คงไม่มีใครมีเงินมาชดใช้ค่าเสียหายได้  คงต้องยอมล้มละลาย 

    -  กระผมกับพวก(สมาชิกทั้งมวล) เข้าชื่อฟ้องร้องได้อย่างไรบ้างครับ

    ตามข้อ 2  ชุด B คงไม่ฟ้อง ชุด A เพราะเป็นคนๆ เดียวกัน

    ตามข้อ 3  ผู้จัดการสหกรณ์เอง หรือนายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ก็ฟ้องได้   แต่เขาไม่ยอมแจ้งความฟ้องร้อง (น่าจะมีส่วนได้เสีย) เพราะประธานกรรมการดำเนินการฯ ชุด B เขียนใบลาออกโดยอ้างว่า สหกรณ์จังหวัดแนะนำให้ลาออก และกรรมการทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ลาออกพร้อมกัน ในวันที่ 16 มีนาคม 2555 เวลา 15.45 น.

               วันที่ 21 มีนาคม 2555 สหกรณ์จังหวัดท่านนี้ ทำหนังสือแจ้งไปสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ให้ประธานกรรมการดำเนินการฯ ชุด B รักษาการในหน้าที่กรรมการดำเนินการฯ ต่อไปได้

                2  เมษายน 2555  ประธานกรรมการดำเนินการฯ ชุด B (รักษาการ) ทำประกาศรับสมัครเลือกตั้งเพื่อให้ได้กรรมการชุด C  (กระผมคาดการณ์ว่าหากการกระทำทั้งหมดที่กล่าวมานี้  ชอบด้วยกฎหมายแล้ว  กรรมการชุด C  ก็จะมาจาก ชุด B ทั้งหมด (เพราะเป็นคะแนนเสียงจัดตั้งจากผู้แทนสมาชิกกลุ่มเดิม)

                -  กระผมกับพวก(สมาชิกทั้งมวล) เข้าชื่อฟ้องร้องสหกรณ์จังหวัดท่านนี้ ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด (ปอ. มาตรา157) ได้ไหมครับ

                    ตามข้อ 4  อาจารย์เชื่อได้ว่าสมาชิกทั้งปวงของสหกรณ์ฯ ครู คงต้องเสียหายแน่ ๆ

                    -  กระผมกับพวก(สมาชิกทั้งมวล) ขอให้อาจารย์ขยายความ “คงต้องเสียหายแน่ ๆ”  จะเกี่ยวข้องกับงบดุลที่ยังไม่ได้รับรองไหมครับ

                    ขอขอบพระคุณอาจารย์มาล่วงหน้า ณ โอกาสนี้ครับ  

    คำตอบ

    มีสมาชิกสหกรณ์หลากหลายถามคำถามทางออกมามากมาย ตอบไปแต่ละรายก็อาจใช้ได้แต่เฉพาะรายนั้น ๆ และตอบเฉพาะตามข้อเท็จจริงที่เล่ามา ส่วนที่ไม่เล่ามาก็อาจเป็นผลทำให้คำตอบที่ตอบไปใช้ไม่ได้   ทางที่ดี สหกรณ์ที่เกิดปัญหาทั้งหลายจึงควรปรึกษากับทนายความน่าจะดีกว่า


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 เมษายน 2555