ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046692 การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิคนทะเบียน14 เมษายน 2555

    คำถาม
    การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ

           พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคืนสัญชาติไทยให้กับคนไทยพลัดถิ่น ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นเพื่อทำหน้าที่พิสูจน์และให้การรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โดยคณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งซึ่งมาจากส่วนราชการต่างๆ และกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำนวนไม่เกิน ๗ คน โดยกฎหมาย (มาตรา ๙/๑) ได้กำหนดว่าผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีนักวิชาการด้านกฎหมายสัญชาติหรือสถานะบุคคล ด้านสังคมวิทยาหรือมนุษยวิทยา ด้านประวัติศาสตร์หรือชาติพันธุ์ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชนรวมอยู่ด้วย

           คำถามที่ขอรบกวนท่านอาจารย์กรุณาให้ความกระจ่าง มีดังนี้ครับ

    ข้อ ๑ คำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๗ คนโดยมีนักวิชาการด้านสัญชาติ ๑ คน นักวิชาการด้านสถานะบุคคล ๑ คน นักวิชาการด้านสังคมวิทยา ๑ คน นักวิชาการด้านชาติพันธุ์ ๑ คน ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน ๑ คน ตัวแทนภาคประชาชน ๑ คน และคนอื่นที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นด้านไหนหรือตัวแทนภาคไหนอีก ๑ คน แต่ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งไม่ยอมรับคำสั่งเนื่องจากตลอดชีวิตการทำงานเป็นนักวิชาการด้านสัญชาติหรือสถานะบุคคล แต่รัฐมนตรีกลับไปแต่งตั้งให้เป็นนักวิชาการด้านชาติพันธุ์ ท่านผู้นี้เลยยื่นเรื่องขอลาออกจากการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ กรณีนี้จะถือว่าการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และจะมีผลอย่างไรกับคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว

    ข้อ ๒ การเรียกประชุมคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นโดยที่กรรมการในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ มีนักวิชาการไม่ครบทุกด้านตามที่กฎหมายกำหนด จะสามารถดำเนินการประชุมได้หรือไม่ มติของที่ประชุมจะมีผลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

    ข้อ ๓ การที่กฎหมายสัญชาติฉบับนี้กำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน และผู้แทนภาคประชาชนรวมอยู่ด้วย โดยไม่ได้ระบุไว้ว่าต้องเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนหรือภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับคนไทยพลัดถิ่น หมายความว่ารัฐมนตรีฯ จะแต่งตั้งนาย ก. นาย ข. หรือบุคคลใดก็ได้ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคนไทยพลัดถิ่น ใช่หรือไม่ครับ

    ข้อ ๔ ถ้ากลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่มีส่วนผลักดันจนได้กฎหมายสัญชาติฉบับนี้เห็นว่าคำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จะฟ้องร้องได้หรือไม่ และจะฟ้องต่อศาลใดครับ

    ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มีชัยอย่างสูง และขอให้ท่านมีความสุขในเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๕๕ ครับ 

    คำตอบ

    1. ถ้ากฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๗ คน เมื่อมีไม่เกิน ๗ คนก็ใช้ได้ ถ้าข้อความที่ลอกมาถูกต้อง ก็แปลว่าเขาไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีครบทุกด้าน

    2. ถ้าคณะกรรมการที่ตั้งมาชอบแล้ว การที่มีคนลาออก ก็ไม่มีผลอะไรกับคณะกรรมการ

    3. เมื่อกฎหมายระบุคุณสมบัติไว้ แล้วไม่สนใจในคุณสมบัตินั้น คนตั้งก็คงแย่เต็มที

    4. การฟ้องย่อมฟ้องได้เสมอ แต่อย่าให้บอกเลยว่าจะต้องฟ้องศาลไหน เพราะเดี่ยวจะกลายเป็นคนคอยยุยงให้คนฟ้องศาล


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 เมษายน 2555