ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046693 ภูมิลำเนาของคนต่างด้าวคนทะเบียน14 เมษายน 2555

    คำถาม
    ภูมิลำเนาของคนต่างด้าว

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ

           ผมได้หารือกับอาจารย์เตือนใจฯ แล้วมีความเห็นร่วมกันว่าควรขอความกรุณาจากท่านอาจารย์มีชัย เพื่อความกระจ่างในประเด็นข้อกฎหมาย โดยสืบเนื่องมาจากกระทรวงมหาดไทยได้เสนอร่างกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๒/๑ แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นเรื่องการขอแปลงสัญชาติแทนบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ๓ จำพวก ได้แก่ (๑) ผู้อนุบาลขอแปลงสัญชาติแทนคนไร้ความสามารถที่เกิดในประเทศไทย (๒) ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ของรัฐขอแปลงสัญชาติแทนผู้เยาว์ที่อยู่ในการดูแลของสถานสงเคราะห์ และ (๓) ผู้รับบุตรบุญธรรมขอแปลงสัญชาติแทนบุตรบุญธรรมที่เกิดในประเทศไทย โดยในร่างกฎกระทรวงได้กำหนดให้เรียกหลักฐานของบุคคลตาม (๑)-(๓) ได้แก่ สูติบัตรหรือหนังสือรับรองการเกิด สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ถ้ามี) ใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วบุคคลทั้ง ๓ จำพวกล้วนเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และประสบปัญหาด้านสถานะบุคคล จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะมีหลักฐานดังกล่าวโดยเฉพาะใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว เท่าที่ทราบข้อมูลปรากฏว่าการกำหนดให้เรียกใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นเกิดจากความเข้าใจของเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยที่ว่าหลักฐานดังกล่าวแสดงถึงคุณสมบัติของผู้ขอแปลงสัญชาติตามมาตรา ๑๐ (๒) ที่กำหนดว่าผู้ขอแปลงสัญชาติจะต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทยติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ ปี  ดังนั้น คนต่างด้าวที่จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทยจะต้องมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

    คำถามที่ ๑ ขอเรียนถามว่าการที่ พ.ร.บ.สัญชาติฯ กำหนดให้คนต่างด้าวที่ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยจะต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทยนั้น การพิจารณาเรื่องภูมิลำเนาของบุคคลจะพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่น ตามกฎหมายอื่น เช่น ป.พ.พ. หรือ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๒๙ (ทะเบียนบ้าน) ได้หรือไม่ หรือจะต้องพิจารณาจากใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นร่างกฎกระทรวงฉบับนี้คงแทบไม่มีผลในทางปฏิบัติ

    คำถามที่ ๒ ขอเรียนถามว่า มาตรา ๑๒/๑ (๒) การขอแปลงสัญชาติแทนผู้เยาว์ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี โดยไม่ได้ระบุว่าผู้เยาว์นั้นต้องเกิดในประเทศไทย แต่ในร่างกฎกระทรวงกำหนดให้เรียกสูติบัตรหรือหนังสือรับรองการเกิด ซึ่งเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กถูกทอดทิ้ง ไม่ปรากฏบุพการี จึงไม่สามารถหาหลักฐานการเกิดได้ จะเป็นการเรียกหลักฐานที่เกินความจำเป็นหรือไม่ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะสามารถโต้แย้งได้หรือไม่ อย่างไร

    ปัจจุบัน ครม.ได้รับหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้แล้วเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๕ และอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา ไม่รู้ว่าจะเข้าคณะของท่านอาจารย์หรือเปล่าครับ

    ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง

    คำตอบ
    คำถามที่ต้องการข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง มาถามกันทางนี้ ตอบไปก็จะใช้ไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงนั้นถูกต้องหรือไม่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 เมษายน 2555