สิทธิความชอบธรรม
เรียนอาจารย์ มีชัย
ป้า1 เสียชีวิตไม่ได้ทำพินัยกรรม เหลือน้องสาว2คน คือแม่ และ ป้า2
ป้า1 มีที่ดินเป็น สปก. ได้ขายเพื่อรักษาตัวเอง เข้าใจว่า(ขายไม่ได้)แต่ไม่มีทางเลือก เพราะป่วยไม่มีเงินรักษาตัวเอง ป้า1ไม่ได้แต่งงานไม่มีลูก คนชื้อตกลงชื้อในราคา 3.5 ล้านบาทและวางเงินก่อน2.5ล้าน โชคไม่ดี ป้า1 เสียชีวิตลงโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่ในช่วงที่ป่วยสิทธิ์ทางการเบิกจ่ายเงินอยู่กับหลานอีกคนหนึ่งที่ท่านไว้ใจให้ถือบัญชีและใส่ชื่อเข้าไป
ปัญหาคือ มีหลานอีกคนลูกชายป้าคนโต(ป้าเสียชีวิตไปได้4ปี) ได้อาศัยช่วงที่ท่านพอเดินไปมาได้ แต่สติไม่ค่อยดีหลงๆลืมๆ เพราะป่วยได้ พาท่านไปไถ่ถอน จาก ธกส. (ในขณะที่ท่านป่วยและมาพักฟื้นที่บ้าน) ที่จำนองมาเก็บไว้ โดย พิมพ์ลายนิ้วมือ ป้าอ่านเขียนหนังสือได้ เข้าใจว่าท่านอาจจะไม่เซนต์ เพราะท่านเคยเปิดกิจการรับชื้อสินค้าเกษตร และหลานชายคนนี้ได้เรียกร้องเงินในส่วนที่เหลือ ไม่งั้นจะไม่คืนใบ สปก.ให้ ที่ได้ไปไถ่ถอนออกจาก ธกส.มาเก็บเอาไว้ที่ตน ชายคนนี้มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน...เคยติดคุกเพราะยาเสพติดมาหลายปี..เคยถามอาจารย์ว่าคนติดคุกยาเสพติด รับราชการไม่ได้ แต่ได้รับการแต่งตั้ง
จึงเรียนถามอาจารย์ว่า
- ชายคนนี้มีสิทธิความชอบธรรมตามกฎหมายหรือไม่ เพราะ ถ้าเขามีสิทธิ ผมและหลานๆอีกหลายคนก็มีสิทธิ
- แม่ กับป้า2 มีสิทธิมากกว่า หลานๆๆ หรือไม่ เพราะเป็นพี่น้องกันโดยสายเลือด
- การกระทำของชายคนนี้ขัดต่อกฎหมายด้านไหนครับ เพราะว่าไปเจรจาแล้ว ไม่ยอม เพราะเงินส่วนนั้นผู้ตายเคยบอกไว้ว่าให้ใช้ทำบุญให้หลังจากเสียชีวิต
ชายคนนี้ไม่ทราบที่มาของบิดา จึงได้ใช้นามสกุลของผู้เป็นแม่แทน และชอบอ้างว่าเป็นผู้สืบ สกุลโดยสายเลือด
ขอแสดงความนับถืออย่าสูง
ประวิทย์ |