กราบเรียนท่าน มีชัย ด้วยความเคารพ
การที่ พรบ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๗ มาตรา ๔ ได้ระบุไว้ว่า ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๓ ตั้งแต่วันใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานี้สืบไป ให้ยกเลิก บรรดากฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายนี้
เรื่องของเรื่องคือว่า มาตรา ๑๐๑ ข้อ ๖ ใน พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ ได้ระบุว่า
+ มาตรา ๑๐๑ หน้าที่และอำนาจของกรมการอำเภอในการที่เกี่ยวด้วยความอาญา
ข้อ ๖ การไต่สวนคดีในชั้นต้นนั้น ต้องลงมือภายใน ๔๘ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาที่จับ ผู้ต้องหา นายอำเภอต้องรีบจัดการโดยเร็วที่จะทำได้ แล้วส่งตัวผู้ต้องหายังเมือง ให้ส่งต่อไปยังศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีนั้น โดยวิธีที่กล่าวต่อไปนี้
ถ้าเป็นตำบลที่มีศาลซึ่งมีอำนาจ และที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ด้วยกัน ให้ส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลภายใน ๔๘ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาที่ผู้ต้องหาได้ตกมาอยู่ในความควบคุมของกรมการอำเภอ
ถ้าเป็นที่อื่นๆ ให้ส่งตัวผู้ต้องหายังศาลโดยเร็วที่จะทำได้ และห้ามมิให้กักขังตัวไว้ที่ๆ ว่าการอำเภอเกินกว่า ๔๘ ชั่วโมง โดยไม่มีเหตุจำเป็น
ถ้าเมื่อส่งผู้ต้องหาไปยังศาล นายอำเภอทำการไต่สวนคดีในชั้นต้นยังไม่สำเร็จ ก็ให้เจ้าพนักงานเมืองร้องต่อศาลขอผัดให้มีเวลาไต่สวนต่อไปตามสมควร
คำถามคือว่า
การที่ ม.๔ แห่งพรบ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๗ ได้เขียนไว้นั้น ทำให้ ม.๑๐๑ ข้อ ๖ ต้องถูกยกเลิก ทั้งหมดหรือไม่ หรือยกเลิกแต่เพียงบางส่วน เพราะ ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หมายเหตุ กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับที่กรุณาตอบ