ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046857 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ใช้กฎหมายคดีผู้บริโภคโดยไม่สุจริตปิยะชาติ ศิริปะชะนะ5 พฤษภาคม 2555

    คำถาม
    ธนาคารอาคารสงเคราะห์ใช้กฎหมายคดีผู้บริโภคโดยไม่สุจริต
               ผมมีเรื่องรบกวนให้อาจารย์ช่วยพิจารณากรณี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ใช้กฎหมายคดีผู้บริโภคที่ไม่ชอบธรรม  ดังนี้
    1. เรื่องเดิม
    1.1  ห้างฯได้จดจำนองที่ดินทุกแปลงของห้างฯกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ มาตั้งแต่ปี 2522  ปัจจุบันก็ยังเป็นหนี้จำนอง 
    1.2  เมื่อวันที่  30 กันยายน  2551  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ ห้างฯ   และศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาเมื่อพฤศจิกายน  2552  ให้โจทก์(ธนาคารฯ)เป็นฝ่ายชนะคดี(ไม่เต็มจำนวน)
    1.3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ยื่นอุทธรณ์ และเมื่อกันยายน  2554 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
    2.  ข้อเท็จจริง
    2.1 ในคดีผู้บริโภค(คดี ผ.บ.) กฎหมายได้กำหนดให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด  หากคู่ความจะฎีกา จะต้องเป็นฎีกาที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น
    2.2 วันที่ 15 ธันวาคม  2554  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ยื่นคำร้องขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภค ต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า ฎีกาดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะรับไว้หรือไม่ ขณะนี้ยังไม่ทราบผลว่า ศาลฎีกาจะรับฎีกาไว้หรือไม่อย่างไร
    2.3 ในฎีกาของธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้อ้างเหตุโดยสรุปว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายเดิมที่ให้ธนาคารฯได้รับชำระหนี้ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่เป็นเท็จ  เนื่องจากในคดีล้มละลายเดิมนั้นได้มีการยกเลิกการล้มละลายลูกหนี้ไปแล้ว และธนาคารฯได้ใช้สิทธิ์เจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95  ไม่ใช่ให้รับชำระหนี้ตามที่ธนาคารฯอ้าง
              2.4  ในคดีล้มละลายเดิม  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้เคยยื่นอุทธรณ์(ยื่นโดยตรงต่อศาลฎีกา) ในคดีหมายเลขแดงที่ ล.313/2527 เพื่อขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับมามีอำนาจเพื่อจัดการทรัพย์สินลูกหนี้ภายหลังล้มละลาย และเมื่อ มีนาคม  2554  ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ยกคำร้อง   ดังนั้น การนำอ้างเหตุว่า คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง(ในคดีแพ่งปัจจุบัน) เปลี่ยนแปลง แก้ไข คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายที่มีการยกเลิกการล้มละลายไปแล้ว จึงเป็นการอ้างที่ไม่ชอบ    คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ธนาคารฯได้รับชำระหนี้ตามที่ธนาคารฯอ้างนั้น ก็ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนเลย  มีแต่เพียงคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่วางหลักเกณฑ์ให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์เจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 ที่มีสิทธิ์ได้รับเท่านั้น   ดังนั้นเหตุผลที่ธนาคารฯนำมากล่าวอ้าง ถือเป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต
          นอกจากนี้ เมื่อปี 2540 ธนาคารฯเคยมีหนังสือระบุว่า แม้ต่อไปลูกหนี้จะได้รับการยกเลิกการล้มละลาย ธนาคารฯจะขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ขอรับหนี้ตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่มาวันนี้กลับอ้างเหตุผลเพื่อขออนุญาตฎีกาว่า ธนาคารฯมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ?
                   2.5 การที่ธนาคารฯพยายามยื่นคำร้องขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภค โดยอ้างเหตุข้างต้น ทั้งๆที่ทราบดีว่า อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดไปแล้วและคำสั่งให้ธนาคารฯได้รับชำระหนี้ที่ธนาคารฯอ้างถึงก็ไม่มี  และยังขัดแย้งกับแนวปฏิบัติเดิมที่ธนาคารสงวนสิทธิ์ไว้ อาจจะมองเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากจะเป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต ซึ่งไม่ใช่วิสัยของการดำเนินงานของธนาคารภายใต้กำกับของกระทรวงการคลังของรัฐบาล
                     2.6 ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นธนาคารของรัฐ ที่ควรเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช่หวังเพื่อประโยชน์สูงสุดของธนาคารแต่เพียงอย่างเดียว  ในคดีผู้บริโภคที่บัญญัติให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ก็ยังพยายามหาเหตุฎีกาเพื่อขยายระยะเวลาให้ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นให้ได้มากที่สุด   แม้บทบัญญัติจะเปิดช่องให้ฎีกาได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดกล่าวคือ ต้องเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน 
                     ขณะนี้ ห้างฯกำลังได้รับความเสียหายจากการดำเนินการที่อ้างว่าสุจริตของธนาคารอาคารสงเคราะห์  ซึ่งนอกจากการที่จะต้องรอคำสั่งจากศาลฎีกาแล้ว อาจารย์คิดว่าจะมีช่องทางใดที่ให้ธนาคารฯยอมรับและทบทวนเหตุผลเพื่อถอนคำร้องขออนุญาตฎีกาดังกล่าวเสีย และหากธนาคารฯไม่ยอมถอนคำร้องโดยต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องธนาคารเสีย ห้างฯจะฟ้องละเมิดหรือข้อหาละเว้นได้หรือไม่อย่างไรครับ
    ขอรบกวนอาจารย์ช่วยชี้ทางสว่างให้ด้วยครับ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโทรสอบถามได้ตลอดเวลาครับ
    นายปิยะชาติ  087-8886780
    คำตอบ
    อะไรที่เป็นของทางราชการ เจ้าหน้าที่เขาก็ต้องเดินไปจนถึงที่สุด มิฉะนั้นเขาอาจต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัวได้  ถ้าเหตุผลทั้งหมดเป็นอย่างที่คุณว่ามา ศาลฏีกาก็คงยกคำร้อง ถ้าคุณเรกงว่าดอกเบี้ยจะวิ่งต่อไป ก็อาจแก้โดยวิธีนำเงินไปวางศาลเสีย ดอกเบี้ยก็จะหยุด
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 พฤษภาคม 2555