อธิบายตามข้อเท็จจริงดังนี้นะครับ นายก.ทำสัญญาเอาประกันชีวิตไว้กับบริษัท ข. โดยในสัญญาระบุว่า สัญญาประกันชีวิตเป็นอันสิ้นสุดลงภายหลัง 60 วันนับแต่วันที่ ผู้เอาประกันผิดนัดชำระเบี้ยประกัน **เว้นแต่กรณีสัญญากู้เงินชำระเบี้ยประกันอัติโนมัติ**กรณีสัญญากู้ เงินชำระเบี้ยประกันอัติโนมัตินั้น ผมเข้าใจว่า หมายถึงการที่ผู้รับประกันภัยจะออกเงินตนเองเพื่อนำไปชำระเบี้ยประกันแทนผู้ เอาประกันโดยถือว่า ผู้เอาประกันได้กู้ยืมเงินผู้รับประกัน เป็นเงินเท่าจำนวนงวดที่ผิดนัดไม่ชำระเบี้ยประกัน เช่น นาย ก. ต้องส่งเบี้ยประกันทุก 3 เดือน งวดละ 2000 บาท ถ้าในงวดล่าสุดนาย ก. ไม่ได้ส่งงวดเกินกำหนดชำระที่ตกลงไว้ บริษัท ข. ผู้รับประกันก็จะออกเงินตนเองใช้เบี้ยประกันที่นาย ก. ค้างชำระไปก่อน โดยถือเป็นเงินกู้ที่นาย ก. ได้กู้ บริษัท ข. ไป ซึ่งมีการคิดดอกเบี้ยเพิ่ม และนายก. จะต้องมาชำระหนี้ตรงนี้แทน ผมสงสัยว่า "สัญญากู้เงินชำระเบี้ยประกันอัติโนมัติ" มีได้ด้วยหรือครับ ในเมื่อแบบของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองตามมาตรา 650 ปพพ. (การกู้ยืมเงินเ้ป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองประเภทหนึ่ง) นั้น "สัญญาย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม" แต่ในขณะเมื่อทำสัญญากู้ยืมเงินอัติโนมัติฯ นี้ ยังไม่มีการส่งมอบเงินกันเลย ซึ่ง "สัญญาจะให้ยืม" ยังเป็นแค่เพียงการถกเถียงในทางทฤษฎีกฎหมายเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วจะมีไม่ได้ เพราะขัดหลัก
ถ้าผมเข้าใจผิดต้องขออภัยด้วยครับ
ผู้เอาประกัน คงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินล่วงหน้ากับผู้รับประกันไว้อีกฉบับหนึ่งต่างหาก พร้อมทั้งตกลงให้นำเงินที่กู้ยืมนั้นไปชำระเบี้ยประกันแทนตนได้ โดยถือว่าผู้เอาประกันในฐานะผู้กู้เงินได้รับเงินไปแล้ว ทำนองเดียวกับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี หรือสัญญาเกี่ยวกับบัตรเครดิต