ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047071 คำแนะนำการดำเนินคดีหลอกขายร้านชาวไทย4 มิถุนายน 2555

    คำถาม
    คำแนะนำการดำเนินคดีหลอกขายร้าน

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย

           ดิฉันได้แจ้งความกับตำรวจที่ประเทศสวีเดน ตำรวจที่นี่ได้แนะนำให้ไปดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่ประเทศไทยด้วย เนื่องจากผู้ต้องหามีสัญชาติไทยและกลับประเทศไทย จึงขอเรียนถามอาจารย์ ดังนี้

    1.ผู้ขาย สัญชาติไทยได้ลงขายร้านอาหารไทยที่เวปไซค์ประเทศสวีเดน วันที่ 25 ตุลาคม 2554 และได้ดำเนินการขายร้านให้ดิฉัน โดยทำสัญญาการซื้อขายร้าน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 โดยสัญญาระบุว่าต้องโอนกรรมสิทธิ์สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ด้วย  แต่ปรากฏว่าผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ให้พี่สะไภ้ทางพฤตินัยไปตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 เข้าข่ายผิดกฎหมายใดและมาตราใดที่ประเทศไทย

    2.ผู้ขายและสามีทางพฤตินัย คนไทยสัญชาติสวีเดน ได้บ่ายเบี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ตลอดเวลา โดยยื่นข้อเสนอว่า เงินที่จ่ายซื้อร้านแล้ว 300,000 โครน ขอไม่ลงในกระดาษ ส่วนเงินที่เหลือผ่อนซื้อร้านรายเดือน จำนวน 480,000 โครน ให้เปลี่ยนเป็นสัญญากู้ยืมเงิน จึงจะให้พี่สะไภ้โอนกรรมสิทธิ์ให้ (สามีและผู้ขายจะหลบภาษีการซื้อขายร้านที่ประเทศสวีเดนและกฏหมายที่ประเทศสวีเดนการซื้อขายร้านผ่อนชำระสามารถโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ได้)ที่ประเทศไทยผู้ขายเข้าข่ายผิดกกฏหมายใด

    3.การแจ้งคดีความถูกหลอกที่ประเทศไทยภายใน 3 เดือน เริ่มนับวันตั้งแต่รู้ว่าถูกหลอกแน่ชัดเมื่อได้รับจดหมายทางอีเมลล์แจ้งจากบริษัทเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ว่าผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ให้ผู้อืนไปแล้วและไม่สามารถดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้เราได้ ใช่หรือไม่ค่ะ หรือเริ่มนับตั้งแต่แจ้งความตำรวจที่ประเทศสวีเดนค่ะ

    4.สามีทางพฤตินัยผู้ขาย(ทางสวีเดนเรียกว่าคู่สันนิวาส) และครอบครัวของสามีผู้ขาย เป็นคนไทยสัญชาติสวีเดน มีส่วนรวมในการดำเนินการขายร้าน เมื่อดำเนินคดีกับผู้ขายคนไทยสัญชาติไทย ดิฉันสามารถดำเนินคดีกับสามีทางพฤตินัยของผู้ขายและครอบครัวของสามีผู้ขายไปพร้อมกันได้หรือไม่ ที่ประเทศไทย

    5.ตอนนี้ดิฉันได้ขอคำแนะนำจากศูนย์คุ้มครองคนไทยในต่างแดน ได้แนะนำให้จัดทำเอกสารเตรียมมาให้พร้อมเพื่อดำเนินคดีที่ประเทศไทย ดังนี้

       5.1 เอกสารลงขายร้านทางเวปไซค์ที่ประเทศสวีเดน

      5.2 เอกสารการโอนกรรมสิทธิ์สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์

      5.3 สัญญาการซื้อขายร้าน

      5.4 ใบแจ้งความที่ประเทศสวีเดน

    เอกสารพวกนี้ทางดิฉันกำลังดำเนินการขั้นตอนการแปลเอกสารและรับรองเอกสารให้ถูกต้องตามกฏหมายเพื่อที่จะนำไปใช้ดำเนินคดีที่ประเทศไทย ไม่ทราบว่าต้องมีเอกสารอะไรบ้างเพิ่มเติมค่ะ

    6.อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำทนายที่ดีให้ดิฉัน เพราะครอบครัวนี้ได้ทำการขายร้านให้กับคนไทยในฤดูหนาวเพราะลูกค้าน้อย โดยไม่ทำสัญญาซื้อขาย ให้วางเงินมัดจำและผ่อนชำระ หลังจากนั้นเข้าช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวก็จะมาไล่ให้ออกไปแต่ตัว ครอบครัวตัวเองเข้ามาทำ พอฤดูหนาวก็เริ่มทำใหม่ โดยจะขายร้านแบบผ่อนชำระ ทำกับคนไทยมาหลายครอบครัวแล้ว โชคดิฉันยังดีนิดหนึ่งได้ทำสัญญาซื้อขาย แต่ก็ไม่รู้ว่าจะดำเนินคดีถึงที่สุดกับขบวนการครอบครัวนี้ได้ขนาดไหน คนไทยที่นั่นที่โดนมาก็ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะไม่รู้ภาษาและกฏหมายที่นั่น ค่าใช้จ่ายทนายก็แพง

    7.ขั้นตอนการดำเนินคดีความแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้างค่ะและใช้ระยะเวลานานเท่าไร เนื่องจากดิฉันต้องทำงานเป็นแม่ครัวที่ประเทศสวีเดนหาเงินดำเนินคดีกับครอบครัวนี้

    8.เงินค่าซื้อร้านจำนวน 816,993 บาท( 200,000 โครน)ทางสามีผู้ขายให้โอนเงินชำระที่ประเทศไทย ชื่อบัญชีพี่สะไภ้ สามีผู้ขาย ดิฉันได้ให้น้องสาวเป็นผู้โอนเงินชำระค่าซื้อร้านที่ธนาคาร ดิฉันควรรีบดำเนินการกับเงินนี้อย่างไรเพื่อไม่ให้พี่สะไภ้สามีผู้ขายถออนออกจากบัญชี

                                          ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง

    คำตอบ

    1. อาจเป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้ เพราะถ้าเขาโอนสิทธิการเช่าให้พี่สะใภ้ไปแล้ว ในวันทำสัญญากับคุณ เขาก็ไม่มีสิทธินั้นอยู่ จึงเป็นการหลอกลวงคุณ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม. ๓๔๑

    2. ไม่เป็นความผิดทางอาญา เป็นเพียงการผิดนัดทางแพ่ง ซึ่งฟ้องร้องบังคับกันในทางแพ่งได้ แต่ถ้าคุณยอมทำสัญญาอย่างที่เขาต้องการ เรื่องก็อาจซับซ้อนกว่าที่คุณเข้าใจ เพราะคุณอาจกลายเป็นคนผิดตามกฎหมายของสวีเด็นด้วยก็ได้ เพราะไปร่วมมือกับเขาในการหลีกภาษี

    3. นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด

    4. ถ้าเขามีส่วนร่วมกันหลอกลวงก็ดำเนินคดีได้ แต่เขาไม่มีส่วนก็ไปดำเนินคดีกับเขาไม่ได้

    5. ควรนำเอกสารที่บริษัทแจ้งว่าผู้ขายได้โอนสิทธิให้คนอื่นไปแล้วมาด้วย

    6 แนะนำให้ไม่ได้ เมื่อกลับมาเมืองไทยแล้วก็ลองเสาะ ๆ หาดู หรือจะให้ใครที่ไว้ใจได้ลองไปเสาะหาดู จะได้ติดต่อกับเขาเสียก่อนที่จะเดินทางมา หากเขาต้องการเอกสารอะไรจะได้เตรียมมาเสียให้พร้อม

    7. ขั้นตอนต้องใช้เวลานานมาก เพราะถ้าคุณให้ตำรวจดำเนินคดี ตำรวจเขาก็คงใช้เวลานานเป็นปี แต่ถ้าคุณดำเนินคดีเอง ก็ต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องก่อน ซึ่งกว่าศาลจะนัดไต่สวนมูลฟ้องได้ก็ใช้เวลาหลายเดือนอยู่ การไต่สวนมูลฟ้องอาจใช้เวลาเป็นปี และเมื่อศาลวินิจฉัยว่าคดีมีมูล การดำเนินคดีก็ต้องรอจนกว่าศาลจะว่าง ซึ่งอาจเป็นเวลาอีกหลายเดือน ในระหว่างเวลาดำเนินคดีก็ต้องใช้เวลาไม่น้อย แต่จะนานแค่ไหนก็ยากจะบอก เพราะขึ้นอยู่กับคู่ความและพยานหลักฐานที่จะนำสืบต่อศาล ทางที่ดีถ้ามีญาติอยู่ทางนี้ ก็มอบอำนาจให้เขาดำเนินการแทน คุณจะได้อยู่หาเงินไปพลางก่อนได้ ส่วนเมื่อถึงคราวที่คุณจะต้องมาให้การที่ศาล จึงค่อยเดินทางมา  ทั้งหมดนี้ ถ้าคุณติดต่อทนายความที่ไว้วางใจได้ (ซึ่งค่าจ้างอาจแพงหน่อย) โดยเฉพาะสำนักงานที่เขามีเครือข่ายกับสวีเดน ก็อาจได้รับคำแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

    8. ป่านนี้เขามิถอนไปแล้วหรือ ถ้าคุณมีทนายความแล้ว ทนายความเขาอาจแนะนำให้ได้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 มิถุนายน 2555