กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา(เน้นที่รูปแบบที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร)ถาม เวลาที่วินิจฉัย ว่าอะไรเป็นกฎหมายที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ ใช้ความหมายอย่างกว้างหรือแคบตอบ ใช้อย่างแคบ เป็นหลัก... (ความเห็น:แล้วศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย มาตรา 68 ใช้กว้างหรือแคบ กับคำว่า และ)เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญคำปรารภในรัฐธรรมนูญข้อความตอนท้ายของย่อหน้าที่ 2 มีความว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญ เป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ใหประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสรีภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ คำปรารภเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็น เจตนารมณ์ของรัฐธรมนูญ ซึ่งจะช่วยในการตีความรัฐธรรมนูญในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่มาตรา 1-336 อย่าตีความรัฐธรรมนูญสวนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญสรุป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในภาพรวม๑.ทำการเมืองให้เป็นการเมืองของพลเมือง โดยขยายสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และการมีส่วนร่วม๒.ขจัดการทุจริตทุกประเภท๓.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ(ความเห็น:แล้วบทบัญญัติมาตรา68ให้ยุบพรรคการเมืองนั้นที่ยื่นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการส่งเสริมการมีเสถียรภาพแก่รัฐบาลใช่หรือไม่)
ผมยังมีข้อสงสัยอีกประการคือ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญสร้างบรรทัดฐานไว้เช่นนี้แล้ว เมื่อมีเหตุที่บุคคลทั่วไปขอยื่นยุบพรรคการเมืองพรรคหนึ่งต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ผ่านอัยการสูงสุด 1 คน/1สำนวน(เช่นคุณเรืองไกร) แล้วถ้ามีบุคคลทั่วไป 100,000 คน ยื่นคนละหนึ่งสำนวนโดยไม่ผ่าน อสส. เช่นนี้ ศาลฯจะมีบุคคลากรเพื่อรับคำร้อง และวินิจฉัยรับฟ้อง เพียงพอหรือไม่ และอัยการสูงสุดก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเมื่อศาลทำหน้าที่กลั่นกรองสำนวนด้วยตัวเองทั้งหมดแล้ว และศาลยุติธรรมทั้งหมดก็สามารถที่จะคัดกรองสำนวนเองได้หรือไม่
ขอบพระคุณครับ
(ผู้ชอบศึกษาและเรียนรู้)