กราบเรียนท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพ
การที่ราฎรปลูกต้นไม้ (ยูคาลิปตัส)ไว้ริมฝั่งคันคลองสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกันฝั่งคลองพัง กันริมคลิ่งพัง หรือเพื่อไว้ทำฟืน ไว้ขาย เป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง หรือปลูกไม้ผล เช่นมะม่วง ขนุน มะพร้าว กล้วย ฯ ล ฯ เพื่อหวังผลไว้รับประทาน ทำไมพวก อบต.หรือเทศบาลจึงไม่ให้ปลูก ทั้ง ๆ ที่ราษฎรปลูกต้นไม้เพื่อปกป้องกรรมสิทธ์ กันตลิ่งพัง กันคันคลองพังในฤดูน้ำท่วม น้ำหลาก หากค้นไม้ที่ปลูกไว้โค่น ล้มลง น้ำกัดเซาะเข้าไปในที่ดินซึ่งมีโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์ เรียกร้องค่าเสียหายจากเทศบาล อบต. ไม่ค่อยได้ อ้างเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ
กรณีต้นไม้ (ริมคันคลองสาธารณะ) ที่ปลูกไว้ โตจนเป็นผลรับประทานได้ หรือต้นยูคาลิปตัสโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 - 15 ซม อบต.หรือเทศบาล จะอ้างเหตุผล ให้ลูกน้องหรือเจ้าหน้าที่มาตัด ทำลายได้หรือไม่ราษฎรมีสิทธ์ขอต่าเสียหายได้หรือไม่ เพราะถ้าเทศบาล หรือ อบต.ตัด ทำลายต้นไม้ดังกล่าวไปแล้ว ในฤดูน้ำหลาก ถ้าน้ำพัดคันคลองพัง น้ำกัดเซาะเข้าไปในที่ที่ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ หรือกัดเซาะดินจนบ้านริมคลอง เอียง ล้ม ที่ดินที่มีโนดกลายเป้นคลอง จะเรียกร้อง ขอค่าเสียหายจากใคร ทั่วโลกรณณรงค์กลัวโลกร้อน น่าจะส่งเสริมการปลูกต้นไม้ดีไหมครับ ราษฎรได้ประโยชน์ โลกก็ได้ประโยชน์ เทศบาล หรืออบต.ไม่เสียประโยชน์ เพราะช่วยเหลือราษฎรซึ่งมีบ้านอยู่ติดคลองพังลง
กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพ