ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047305 ต้องการทำพินัยกรรมใหม่นิษฐา27 มิถุนายน 2555

    คำถาม
    ต้องการทำพินัยกรรมใหม่

    เรียนท่านอาจารย์

    ดิฉันอยากสอบถามเรื่องเกียวกับพินัยกรรม

    พินัยกรรมฉบับจริงที่คุณยายได้ทำให้คุณน้าได้หายไป แล้วตอนนี้คุณยายอยากจะทำพินัยกรรมใหม่อีกครั้งแทนฉบับเดิมที่หายไป ... แต่ทางอำเภอแจ้งว่ามาว่าไม่สามารถทำใหม่ได้ และทางอำเภอได้เก็บอีกฉบับไว้อยู่  ถ้าในอนาคตคุณยายเสียชีวิต ก็ให้มาเอาพินัยกรรมที่ทางอำเภอได้เก็บไว้ได้ทันที

       1. ไม่ทราบว่าคุณยายสามารถทำพินัยกรรมฉบับใหม่แทนฉบับที่หายไปได้ไหมค่ะ และหากได้ จะต้องทำอย่างไรบ้างค๊ะ

      2.ถ้าไม่สามาถทำพินัยกกรรมใหม่ได้ตามที่ทางอำเภอได้แจ้งไว้.... คุณน้าจะยังได้รับพินัยกรรม(ที่ดิน)ทีคุณยายได้ระบุไว้รึป่าวค๊ะ เพราะว่ายังไม่ได้โอน แต่เป็นเพียงพินัยกรรมแจ้งความจำนงของคุณยายว่าจะให้ที่ดินแก่คุณน้า.

    คำตอบ

    1. ถ้าทางอำเภอมีต้นฉบับอีกฉบับหนึ่งอยู่ ก็แสดงว่าการทำพินัยกรรมที่ทำไว้แล้ว เป็นการทำในลักษณะ "เอกสารฝ่ายเมือง" คือเป็นพินัยกรรมที่นายอำเภอทำให้  เมื่อจะยกเลิกก็ไปที่อำเภอ ไปแจ้งขอยกเลิกพินัยกรรมนั้น แล้วขอให้ทำใหม่ แต่ถ้าไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรในพินัยกรรม ก็ไม่จำเป็นต้องไปยกเลิก เพียงแต่เขียนบันทึกเตือนความจำของทุกคนเอาไว้ว่า ได้มีการทำพินัยกรรมเก็บไว้ที่อำเภอ ถึงเวลาก็ไปเอามาได้

    2. การทำพินัยกรรม ก็คือ การที่จะให้ทรัพย์สินตกเป็นมรดกได้แก่ใครเมื่อเวลาที่เจ้าของทรัพย์นั้นตายแล้ว  ไม่ได้มีผลในทันทีที่ทำพินัยกรรม


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 มิถุนายน 2555