ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047449 ทางออกของลูกหนี้ลูกหนี้19 กรกฎาคม 2555

    คำถาม
    ทางออกของลูกหนี้

            ดิฉันและเพื่อนอีก 2 คน เป้นข้าราชการค่ะ  ในปี 2550 ทั้งดิฉันและเพื่อน ๆ มีความจำเป็นทางครอบครัว  ตนเองและสามีป่วย   ลูกต้องเรียนต่อ  ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้านมากมายสารพัด   จึงได้ไปขอหยิบยืม(กู้เงินจากเจ้าหนี้ (ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของดิฉันเอง  เป็นข้าราชการเหมือนกัน)  กู้มาคนละ คนละ 1 แสนบาท  ทำสัญญากู้เงิน(เขียนกันเอง) คงไม่ถูกแบบฟอร์มตามกฎหมาย     โดยดิฉันและเพื่อนต่างลงชื่อเป็นพยานในการกูเงินด้วยกัน  แต่ไม่ระบุดอกเบี้ย  ไม่ระบุวันกำหนดส่งเงินต้น   เพียงแต่ตกลงกับเจ้าหนี้(เพื่อนสนิท) ด้วยวาจาว่าจะให้ดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาทต่อเดือน  ถึงต้นเดือนก็นำค่าดอกเบี้ยไปให้เพื่อน(เจ้าหนี้)  คนละ 5000 บาท ต่อเดือน  กู้เงินผ่านมาสองปีกว่า   ต่อมาเข้าปีที่ 3  เพื่อน ๆ อีก 2คน  ที่ร่วมยืมเงิน และลงชื่อเป้นพยานการกู้ยืมเงินเพื่อน  ได้นำเงินต้นมาให้ดิฉันไปจ่ายให้เพื่อนรัก(เจ้าหนี้)  แต่ดิฉันได้ไปตกลงกับเพื่อน(เจ้าหนี้)  เพื่อเขียนสัญญากู้ยืมเงินขึ้นใหม่  เขียนกันเอง  โดยให้เพื่อเซ็นชื่อเป็นพยานกู้เงิน  เขียนสัญญากันเองเป็นกู้คนเดียว 3 แสน  ดิฉันนำเงินไปตกดอกให้คนที่รู้จักกัน    ร้อยละ 10 ต่อเดือน  โดยให้กู้รายละ 3 พัน ห้าพัน  1 หมื่น หรือ 2 หมื่น   ฯ   เขียนสัญญากันเองง่าย ๆ แบบที่ทำกับเพื่อนรัก   ตอนแรกมีกำไรเห็น ๆ เป็นกอบเป้นกำ ดิฉันได้เงินดอกเบี้ยเดือนละ 15000 บาท  เพื่อนที่เป็นนายทุน(เจ้าหนี้ ได้ 15000  บาท 

           ต่อมาลูกหนี้ที่ดิฉันนำเงินไปตกดอก  บางรายโกง  หนีหน้า  ย้ายไปอยู่ต่างอำเภอ  ต่างจังหวัด  ตามทวงเงินไม่ได้ทั้งต้น  ทั้งดอก  ปัจจุบันนี้เก็บดอกเบี้ยได้ไม่กี่ราย นานไปลูกหน้อาจจะหนีหน้ากันหมด  สูญเงินทั้งต้นและดอก 

           ด้วยความเคารพ บับถืออาจารย์  ที่เป็นครูให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่คนทั้งประเทศ  เป็นปูชนียบุคคล  ท่านไม่เลือกที่รัก  ที่ชัง  ท่านตอบไปตามข้อมูลที่ได้รับ และให้คำตอบในแง่ของกฎหมาย ขอกราบเรียนถามอาจารย์  ดังนี้

    1. ถ้าดิฉันจะโกงเจ้าหนี้ (เพื่อนรัก) ไม่ยอมคืนเงินต้น และดอกเบี้ย โดยอ้างเหตุผลที่เตรียมไว้  เจ้าหนี้จะฟ้องร้องดิฉันได้หรือไม่  เพราะสัญญาเขียนกันเอจะถูกกฎหมายหรือไม่  ศาลจะยกฟ้องหรือไม่

    2.ถ้าเจ้าหนี้ฟ้องร้อง   ให้คืนเงินต้นและดอกเบี้ย ตั้งแต่ ปี 2550 - 2555 ดิฉันต้องเสียเงินค่าดอกเบี้ยอย่างไร  เพราะดอกเบี้ยได้จ่ายให้เจ้าหนี้บ้าง ไม่จ่ายบ้าง  ถ้าจะหาเงินไปคืนให้หมด ดิฉันก็เดือดร้อน  แต่ก็นึกสงสารเจ้าหนี้  (เพื่อนรัก)

    3. ถ้าดิฉันจะไม่ยอมจ่ายเงินคืน  ทั้งต้น และดอก จะมีความผิดหรือไม่  มีหลักฐานอะไรที่ศาลจะรับฟัง หรือใช้พิจารณา

    4.เจ้าหนี้ (เพื่อนรัก) เตรียมไปปรึกษาทนาย  จะให้ดิฉันเขียนสัญญากู้เงิน  เปลี่ยนสัญญาใหม่ให้ถูกหลักตามกฎหมาย  ดิฉันจะไม่ยอมเขียน ขอใช้สัญญาเก่าที่เขียนกันเองได้หรือไม่  เพราะเพื่อนยืมเพื่อน

    5.การที่มีนายทุนนำเงินมาให้ชาวบ้านกู้ยืม  และจ่ายดอกเบี้ยรายวัน ร้อยละ 20 ต่อวันและมีโจ๋ชุดดำ 2 คน มาเก็บทุกวัน  ผิดกฎหมายหรือไม่  จะโกงเขาได้หรือไม่

     

    คำตอบ

    1. สัญญากู้ยืมเงินไม่มีแบบฟอร์มอะไรหรอก  เขียนหนังสือไม่กี่ตัวก็ใช้ได้ เพียงมีข้อความได้มีการยืมเงินกันเป็นเงินเท่าไร ก็ใช้ฟ้องร้องบังคับกันได้แล้ว   คุณก็เป็นเพื่อนรักกับเจ้าหนี้ แล้วจะไปโกงเขาทำไม  ลองพูดคุยกับเขาให้เขาทราบความจริงว่าลูกหนี้โกงไป เขาจะร่วมรับเคราะห์โดยลดราวาศอกกันบ้าง บางทีก็จะยังรักษาเพื่อนไว้ได้ และไม่ได้ชื่อว่าโกงเขา   ส่วนหนี้ที่ให้คนเขากู้ไปนั้น ถ้ามีหลักฐานการกู้ยืมเงิน ก็ควรดำเนินการฟ้องร้อง เมื่อได้เงินมาก็จะได้ไปคืนเพื่อนซึ่งเป็นเจ้าหนี้

    2. ก็เสียตามปกติ โดยคิดในอัตราร้อยละไม่เกิน ๑๕ ต่อปี

    3. ก็หลักฐานที่เขาคุณทำสัญญาไว้กับเขานั่นแหละ

    4. คุณและเพื่อนอาจจะเข้าใจผิดในเรื่องแบบสัญญา  ลองอ่านข้อ 1 ดู แล้วจะเข้าใจ สำหรับพยานจะมีหรือไม่ก็ไม่มีผลอะไร

    5. ผิดกฎหมายในเรื่องห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  แต่คนพวกนี้เขาไม่กลับกฎหมายหรอก เพราะเขาใช้วิธีข่มขู่ และทำร้าย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 กรกฎาคม 2555