ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047492 ภาษีป้ายของโรงเรียนเอกชน (ต่อเนื่องคำถามที่ 047478)นายชอบธรรม26 กรกฎาคม 2555

    คำถาม
    ภาษีป้ายของโรงเรียนเอกชน (ต่อเนื่องคำถามที่ 047478)

    เรืยน ท่านอาจารย์มีชัย

    สืบเนื่องจากคำถามที่ 047478 ข้อ 2 เกี่ยวกับประเด็นในคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวที่ศาลท่านใช้ ผมขออนุญาตคัดลอกบางตอนมาลงไว้ ณ ที่นี้

    "ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า จำเลยต้องเสียภาษีป้ายหรือไม่ เห็นว่า มาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บัญญัติยกเว้นภาษีป้ายสำหรับป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าป้ายใด จะถือเป็นป้ายโรงเรียนเอกชนหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามที่กฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน คือพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 กำหนดไว้ ซึ่งมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทยขนาดใหญ่พอเห็นได้ในระยะอันสมควรติดไว้ที่โรงเรียนหรือบริเวณโรงเรียน ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย" ดังนั้น ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจึงหมายความถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยตามบทบังคับของมาตรา 46 เท่านั้น ป้ายพิพาทมิใช่ป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่ใช่ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของป้ายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย"

    ในเมื่อประเด็นที่ศาลท่านใช้เป็นเช่นว่านี้ ท่านอาจารย์จะมีความเห็นเป็นประการใด ผมควรจะลองฟ้องและสู้คดีขึ้นไปใหม่ หรือควรจะยอมเสียภาษีป้ายให้แก่เทศบาลฯ ไปดีกว่า (ไม่ต้องเดือดร้อนเสียเวลา สู้ไปก็แพ้คดีอยู่ดี)

    จริงๆ แล้วผมอยากจะลองฟ้องและสู้คดีขึ้นไปใหม่เพื่อเป็นบรรทัดฐานใหม่ เพราะหากคำพิพากษาฎีกานี้ไม่ชอบจริง ก็เท่ากับว่าในปัจจุบันโรงเรียนเอกชนทุกแห่งทั่วประเทศต้องเสียภาษีป้ายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    นายชอบธรรม

    คำตอบ
    คำพิพากษาฎีกา ไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นการแปลความของศาลสูงสุด ซึ่งปกติก็มักจะยึดถือกันตามนั้น แต่ก็ไม่แน่เสมอไป บางเรื่องศาลฎีกาก็กลับคำพิพากษาที่เคยมีมา  ดังนั้นถ้าความสูญเสียที่จะต้องเสียจากการปฏิบัติตามแนวทางคำพิพากษาฎีกานั้นมีมากพอที่จะ "ลองดู" ก็มีคนลองดูอยู่เสมอ  โดยคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องเสีย เทียบกับค่าทนายความ ค่าเสียเวลา ค่าขึ้นศาล ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ถ้ามันคุ้มคนก็มักจะลองดู แต่ถ้าไม่คุ้ม เช่น เสียภาษี ๒,๐๐๐ บาท แล้วจะต้องต่อสู้คดีใหม่ เสียอีกสักสองสามแสนบาท ก็คงไม่คุ้ม  แต่นั่นก็เป็นความคุ้มทางด้าน "การเงิน" แต่บางคนก็คิดในแง่หลักการ ว่าแม้จะต้องลงทุนสักกี่แสนกี่ล้าน เพื่อรักษาหลักการแห่งความถูกต้องตามความเชื่อของตน ก็ยอม ดังจะเห็นได้จาก ที่ชาวบ้านทะเลาะกันด้วยเรื่องล้ำเขตที่ดินเพียงศอกเดียว แต่ก็สู้กันจนหมดที่ดินทั้งแปลง ก็เคยเห็นกันอยู่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 กรกฎาคม 2555