ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047494 คำสั่งศาลอุทธรณ์กับการเลือกตั้งนริศ26 กรกฎาคม 2555

    คำถาม
    คำสั่งศาลอุทธรณ์กับการเลือกตั้ง

    เรียนอาจารย์มีชัย ที่เคารพ กระผมอยากรบกวนสอบถามเรื่องคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีเลือกตั้งว่าจะมีผลเป็นคำพิพากษาให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งขาดคุณสมบัติในการสมัครหรือไม่ดังนี้ครับ

               กรณีหลังการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น  กกต.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ตาม ม.๒๓๙ ของ รธน. ๒๕๕๐ ให้สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครเป็นระยะเวลาหนึ่งปีและให้ดำเนินคดีอาญาพร้อมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายในการเลือกตั้งด้วย ศาลอุทธรณ์ได้สั่งตามที่ กกต.ยื่นคำร้อง ต่อมาระยะเวลาได้ผ่านไปสองปี การดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งยังอยู่ในชั้นการพิจารณาของศาล(ศาลยังไม่พิพากษาในคดีอาญาและคดีแพ่ง)  อยากเรียนถามอาจารย์ว่า  ผู้สมัครรายนี้จะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นครั้งใหม่ได้หรือไม่ และคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจะถือว่า เป็นคำพิพากษา ตาม มาตรา ๔๕(๖)  ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕ ที่เป็นเหตุให้ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ 

    คำตอบ
    ขึ้นอยู่กับว่ากรณีเข้าข่ายมาตรา ๔๕(๖) หรือไม่ ถ้าเข้าข่ายก็สมัครไม่ได้จนกว่าจะครบ ๕ ปี แต่จะรู้ว่าเข้าข่ายหรือไม่ก็ต้องไปดูว่าศาลพิพากษาว่ากระทำผิดตามกฎหมายนั้นหรือไม่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 กรกฎาคม 2555