ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047694 การรับบุตรบุญธรรมอดีตคนทะเบียน22 สิงหาคม 2555

    คำถาม
    การรับบุตรบุญธรรม

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ

           ผมมีประเด็นปัญหาที่จะขอรบกวนท่านอาจารย์กรุณาชี้แนะเกี่ยวกับเรื่องการรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรม โดยเฉพาะกรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งตาม พ.ร.บ.รับบุตรบุญธรรม กำหนดให้มีขั้นตอนการทดลองเลี้ยงดูของผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (อยู่ในกระทรวง พม.) ก่อนจึงจะจดทะเบียนได้ ปรากฏว่าการปฏิบัติในเรื่องนี้มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ

            ๑. ถ้าเด็กมีเอกสารทะเบียนราษฎร ระบุว่าไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่มีรายการสัญชาติของเด็ก เช่น เด็กที่มีเลข ๑๓ หลักขึ้นต้นด้วยเลข ๐ โดยรายการของบิดาและมารดาของเด็ก ไม่ได้ระบุสัญชาติ (เป็นคนไร้สัญชาติทั้งครอบครัว) กรณีนี้เจ้าหน้าที่ พม.ยินยอมให้เด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ (จดทะเบียนได้)

            ๒. ถ้าเด็กมีเอกสารทะเบียนราษฎร ระบุว่ามีสัญชาติของประเทศอื่น หรือรายการของเด็กระบุว่าไม่มีสัญชาติไทย แต่รายการของบิดาหรือมารดาของเด็กระบุว่าเป็นคนสัญชาติอื่น กรณีนี้เจ้าหน้าที่ พม.ไม่ยินยอมให้เด็กเป็นบุตรบุญธรรม (จดทะเบียนไม่ได้) โดยเหตุผลที่อ้างกันอยู่บ่อยๆ ก็คืออาจเป็นการขัดต่อกฎหมายของประเทศที่เป็นเจ้าของสัญชาติของเด็กหรือบิดามารดาของเด็ก

            ผมพยายามอ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องพบว่าการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะเป็นไปตาม ป.พ.พ. และ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ ซึ่งมิได้กำหนดห้ามการจดทะเบี่ยนรับเด็กต่างด้าวเป็นบุตรบุญธรรม นอกจากนี้ ใน พ.ร.บ.รับบุตรบุญธรรม ๒๕๒๒ ก็ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับสัญชาติของเด็กและสัญชาติของผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไว้ ประกอบกับเจตนารมณ์ของการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก็เพื่อให้เด็กมีครอบครัวทดแทนที่สามารถให้ความรักความอบอุ่น สามารถดูแลและปกป้องเด็กให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงอยากเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้ครับ

            ข้อ ๑ กรณีคนไทยจะขอจดทะเบียนรับเด็กที่มีสัญชาติของประเทศอื่นมาเป็นบุตรบุญธรรมของตน (จดทะเบียนตามกฎหมายได้) สามารถดำเนินการได้หรือไม่ มีกฎหมายฉบับใดห้ามไว้หรือไม่

            ข้อ ๒ กรณีคนต่างด้าวจะขอจดทะเบียนรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยไปเป็นบุตรบุญธรรมของตน โดยขอจดทะเบียนตามกฎหมายไทย สามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร

            ข้อ ๓ การจดทะเบียนตามกฎหมายไทย จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายของต่างประเทศด้วยหรือไม่ ในทางกลับกัน ถ้าคนต่างด้าวจดทะเบียนรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมโดยจดทะเบียนตามกฎหมายของต่างประเทศ จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทยหรือไม่ อย่างไร

           ผมขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงครับ 

    คำตอบ

    1. ยังไม่เคยเห็นว่ามีกฎหมายใดห้าม

    2. ได้

    3. ถ้าเขาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศเขา ไทยก็ยอมรับนับถือ แต่สำหรับการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ประเทศอื่นจะรับนังถือหรือไม่ ไม่ทราบ เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 สิงหาคม 2555