ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047747 ประชุมใหญ่ประจำปี คอนโดกฎหมาย กับ กิเลส29 สิงหาคม 2555

    คำถาม
    ประชุมใหญ่ประจำปี คอนโด

    กราบเรียนอาจารย์มีชัยด้วยความเคารพ

    ปัญหานี้ น่าจะมีกับที่อื่น ๆ แต่ผมยังค้นไม่พบ จึงขออนุญาตถามอาจารย์ดังนี้

    สมมุติว่า วาระที่ 1. พิจารณาว่าจ้าง บริษัท ก. บริหารชุมชน ประจำปี 25xx

                                 มติ (  ) อนุมัติ                   ( ) ไม่อนุมัติ

    เหตุ

    ที่ประชุมใหญ่ มีการเสนอความเห็นแย้งกันไปมา ระหว่าง เจ้าของร่วม กับ นิติบุคคลอาคารชุด หลายประเด็น ในเรื่อง ราคาว่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งที่ประชุมไม่ยอม  แต่ถ้าราคาว่าจ้างลดลงเท่าปีที่ผ่านมา นิติบุคคลต้องลด เจ้าหน้าที่ และลดงานลง  

    ในที่สุด สรุปว่า วาระนี้ ให้แก้ไขใบเสนอราคาในเอกสารประกอบการประชุมใหญ่ โดยลดราคาลงให้เท่ากับปีที่ผ่านมาและใช้การบริหารจัดการซึ่งคณะกรรมการฯ จะเป็นผู้ดูแลต่อไป ส่วนปีหน้ามาตกลงกันใหม่ ที่ประชุม จึงยุติ และลงคะแนนเกิดเป็นมติในที่ประชุมใหญ่

    คำถาม

    การแก้ไขใบเสนอราคา ในเอกสารประกอบการประชุมของวาระนี้ ในที่ประชุมใหญ่

    1. จะถือว่า มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และ

    2. จะอ้างว่า การแก้ไขดังกล่าว เป็น "วาระที่ได้กำหนดขึ้นใหม่ในที่ประชุมใหญ่ จึงไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย" ได้หรือไม่

    ปวดหัวครับ ระหว่าง กฎหมาย กับ กิเลส

    ขอกราบขอบพระคุณท่านด้วยความเคารพ

     

     

     

     

     

    คำตอบ

    1. ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนแก้  ถ้าคนเสนอเป็นคนแก้ ก็ใช้ได้ แต่ถ้าคนอื่นเป็นคนแก้ ก็ใช้ไม่ได้ เพราะใครเสนอ คนนั้นก็ต้องเป็นคนแก้

    2. ก็เป็นวาระเดิมนั่นแหละ แต่ถ้าผู้เสนอราคาเขาอยู่ในที่ประชุม และที่ประชุมติว่าราคาแพงเกินไป เขาก็เสนอใหม่ในที่นั้น ก็ง่าย ๆ ไม่มีอะไรยุ่งยาก  เหมือนคุณไปซื้อของ เขาบอกราคา ๑๐๐ บาท คุณก็บอกว่าแพงไป ไม่ซื้อหรอก เขาก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นลดเหลือ ๘๐ ก็ได้ แล้วคุณก็ตกลงซื้อ สัญญานั้นก็สมบูรณ์ใช้ได้ ไม่มีอะไรยุ่งยาก ไม่มีอะไรเกี่ยวกับกิเลสของใคร ถ้าจะมีก็เป็นกิเลสของทั้งสองฝ่าย  คือฝ่ายขายบริการ ก็อยากขาย (เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง) ฝ่ายผู้ซื้อก็อยากซื้อในราคานั้น (ซึ่งก็เป็นกิเลสอีกอย่างหนึ่ง)


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 สิงหาคม 2555