ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047759 การกำหนดค่าส่วนกลางของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรวัชรพัฒน์31 สิงหาคม 2555

    คำถาม
    การกำหนดค่าส่วนกลางของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

    ในหมู่บ้านผมเพิ่งจะมีการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรขึ้นได้ประมาณ1ปี โดยก่อนหน้านี้โครงการเป็นผู้ดูแล  หลังจากนั้นได้มีการประชุมตกลงว่าจะจัดเก็บค่าส่วนกลางหลังละ1000บาท ซึ่งก็มีการจัดเก็บตามนั้นมาตลอด ผ่านไปหนึ่งปีมีสมาชิกท่านหนึ่งเห็นว่ากฎหมายได้กำหนดให้คิดค่าส่วนกลางเป็นอัตราต่อตารางวาจะมาจัดเก็บเท่าๆกันไม่ได้ แต่มีผู้แย้งว่ากฎหมายก็กำหนดเช่นเดียวกันว่าให้กรรมการนิติบุคคลเป็นผู้กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายต่างๆซึ่งก็ตีความว่ารวมถึงค่าส่วนกลางแบบจ่ายทุกหลังเท่าๆกันด้วย
    ตอนนี้กำลังมีปัญหาแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งต้องการให้คิดเป็นอัตราต่อตารางวา อีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้คิดต่อหนึ่งหลังคาเรือนเหมือนเดิม
    คำถามคือ
    1. การคิดค่าส่วนกลางแบบจ่ายเท่าๆกันทุกหลัง ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
    2. จากข้อ 1 ถ้าไม่ถูกต้อง จะต้องเรียกเก็บเพิ่มและจ่ายคืนย้อนหลังในช่วง1ปีที่ผ่านมาหรือไม่
    3. การนับคะแนนเสียงนั้น ตามกฎหมายแล้ว ให้คิดหนึ่งหลังคาเรือนเป็นหนึ่งคะแนนเสียงหรือว่า ให้คิดตามพื้นที่ของแต่ละหลังคาเรือน เช่น บ้าน50ตรว.มี50คะแนนเสียง บ้าน100ตรว.มี100คะแนนเสียง
    4. จากข้อ 3 ถ้าคิดคะแนนเสียงตามพื้นที่ แต่ว่าที่ผ่านมาใช้วิธีหนึ่งหลังคาเรือนเป็นหนึ่งคะแนนเสียงมาตลอด การลงมติที่ผ่านมาทั้งหมดจะกลายเป็นโมฆะหรือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

    ทั้งสองฝ่ายที่โต้แย้งกันเป็นทนายด้วยกันทั้งคู่ จึงสร้างความสับสนให้กับสมาชิกในหมู่บ้านไม่ทราบว่าจะเชื่อฝ่ายไหนดี รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

    คำตอบ

    1.-2. การกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เป็นอำนาจของนิติบุคคลโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อที่ประชุมใหญ่ให้ความเห็นชอบอย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามนั้น ส่วนวิธีการเรียกเก็บนั้นจะเรียกเก็บตามเนื้อที่หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ตามระเบียบของคณะกรรมการ ควรไปดูว่ามีระเบียบของคณะกรรมการกำหนดเรื่องนี้ไว้อย่างไรหรือไม่

    3. สุดแต่ข้อบังคับจะกำหนดไว้อย่างไร

          การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ก็เหมือนกับการตั้งประเทศเล็ก ๆ ขึ้น คนที่อยู่ในนั้นมีทั้งสิทธิและหน้าที่ เหมือนกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นความจำเป็นของเจ้าของที่ดินแต่ละแปลงจะต้องคอยเอาใจใส่ตรวจสอบดูแลว่ามีกฎข้อบังคับว่าอย่างไร และเวลาเขาจะออกข้อบังคับจะต้องคอยเอาใจใส่ไปดูว่าทำให้เราถูกรอนสิทธิหรือไม่


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    31 สิงหาคม 2555