ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047976 คดีร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้kaiกระบี่26 กันยายน 2555

    คำถาม
    คดีร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้

    เรียน  อาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์

                  รบกวนปรึกษาอาจารย์เกี่ยวกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับคดีฉ้อโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา 350 และ มาตรา 83 ได้รับหมายศาลในคดีร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้ ในฐานะจำเลยที่ 2  มีรายละเอียดดังนี้

    1.ข้าฯ ในฐานะจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งติดภาระจำนองธนาคาร ของจำเลยที่ 1 และธนาคารได้ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ซึ่งได้ไกล่เกลี่ยต่อศาลแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ ธนาคารเจ้าหนี้บังคับให้ชำระหนี้ภายในเดือน เมษายน 2555 หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลา ธนาคารจะยึดอายัดอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภาระจำนอง และยังต้องรับผิดต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นต่อไปในการดำเนินคดีและเบี้ยปรับที่ผิดนัดชำระหนี้นอกเหนือจากทรัพย์ที่ติดภาระจำนองดังกล่าว ข้าฯ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นน้องสาวของจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำกู้เงินต่อธนาคารเพื่อจะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งธนาคารได้อนุมัติวงเงินกู้และได้ดำเนินการถอนบังคับคดีและได้ชำระหนี้ที่ค้างอยู่กับธนาคารเจ้าหนี้ แบ่งเป็นเงินต้น 840,000 บาท และดอกเบี้ยผิดนัดประมาณ 129,000 บาท และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการถอนบังคับคดี ค่าใช้จ่ายในการจดจำนองที่ดิน ซึ่งที่ดินดังกล่าวธนาคารแจ้งราคาประเมินต่อบังคับคดีไว้ 1,600,000 บาท ซึ่งข้าฯ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงซื้อขายกับจำเลยที่ 1 ในราคา 1,000,000 บาท และก่อนที่ข้าฯ จะตกลงซื้อขายได้แจ้งกับจำเลยที่ 1 หากสามารถขายให้กับบุคคลอื่นในราคาที่สูงกว่าก็ได้ แต่ก็ไม่สามารถหาผู้ใดมาซื้อได้ และได้จดทะเบียนโอนเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2555  ซึ่งข้าฯ ได้นำเงินที่ได้รับมาจากการกู้ธนาคารชำระหนี้ให้กับจำเลยที่ 1 ทั้งหมดในวันเดียวกัน

    ต่อมาวันที่ 23 ก.ย. 2555 ข้าได้รับหมายศาลซึ่งโจทก์กล่าวหาว่าข้าร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้ โดยการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่ำกว่าราคาประเมินทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้สิทธในการบังคับคดียึดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อนำมาขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ซึ่งในวันที่มีการซื้อขาย ข้าฯ ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ถูกโจทก์ฟ้องบังคับคดีให้ชำระหนี้ และมีการไกล่เกลี่ยชำระหนี้ และจำเลยที่ 1 ได้ผิดนัดชำระหนี้ให้กับโจทก์ ตามฟ้องจำนวน 125,000 บาท โดยผ่อนชำระเดือนละ 4,500 บาท

    รบกวนสอบถามอาจารย์ว่า

    1.จำเลยที่ 2 มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหาหรือไม่

    2.เนื่องจากจำเลยที่ 2 รับราชการและเป็นที่รู้จักในชุมชนและเป็นผู้นำกลุ่มในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ทำให้ได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงต่อหน้าที่การงานและต่อครอบครัว ข้าฯ จะฟ้องคดีหมิ่นประมาทหรือต้องดำเนินการอย่างไร ข้าเพียงแต่ต้องการให้สังคมได้รับทราบว่าเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่เป็นความจริง หรือต้องเรียกร้องค่าเสียหายอย่างไร

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

    คำตอบ

    1. ตอบไม่ได้หรอกว่าทำผิดหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงเท่าที่เล่ายังไม่เพียงพอ  แต่เฉพาะส่วนที่เล่ามา ก็น่าสงสัยว่าคุณจะลำบาก เพราะคุณเป็นพี่น้องกับจำเลยที่ ๑ ที่เป็นหนี้และกำลังถูกยึดทรัพย์อยู่ แทนที่คุณจะนำเงินไปไถ่จำนองจากธนาคาร คุณกลับเอาเงินให้จำเลยที่ ๑ คุณจะอ้างว่าไม่รู้ว่าเขากำลังดำเนินคดีกันอยู่ก็คงยาก

    2. ก่อนจะไปคิดฟ้องเขา  ลองหาทนายเพื่อไปสู้คดีเอาตัวให้รอดเสียก่อนไม่ดีกว่าหรือ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 กันยายน 2555