ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047979 ข้าราชการ ดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในบริษัทขอเรียนถาม26 กันยายน 2555

    คำถาม
    ข้าราชการ ดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในบริษัท

    เรียน อ.มีชัย,

         จาก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551   มาตรา 83 (6)

    ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

    ผมเพิ่งเป็นข้าราชการพลเรือน ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการได้ไม่นาน ก่อนหน้านี้ทำงานบริษัทเป็นพนักงานขาย  ซึ่งทางบริษัทก็ยังอยากจะให้ผมทำงานต่อ แต่เป็นการทำงานเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และบริษัทก็จะส่งประกันสังคมและให้เงินเดือน/ค่าตอบแทนให้ต่อไปด้วย กรณีของผมนี้ ตำแหน่งงานราชการคือนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ (ธุรการ) กับ ตำแหน่งงานบริษัทเป็นพนักงานขาย ก็ไม่ถือเป็นการผิดวินัยตามมาตรา 83 (6) ตาม พ.ร.บ. นี้ใช่ไหมครับ เพราะลักษณะงานต่างกัน และทำงานเอกชนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการ แต่ถ้าเสาร์-อาทิตย์ไหนติดราชการ บริษัทก็อนุญาตให้ไปทำราชการ ส่วนวันจันทร์ถึงศุกร์ ก็ทำงานราชการเต็มเวลา  บริษัทที่ผมทำก็ไม่มีประโยชน์ได้เสียใดๆ กับหน่วยงานราชการที่ผมทำอยู่

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ
    ตำแหน่งที่คุณทำกับเอกชน ไม่เข้าข่ายตำแหน่งตามมาตรา ๘๓  แต่การที่คุณเป็นลูกจ้างประจำของบริษัทเอกชน อาจมีปัญหาในภายหน้าได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 กันยายน 2555