ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048005 การฟ้องขับไล่จันทนา1 ตุลาคม 2555

    คำถาม
    การฟ้องขับไล่

    เรียน ท่านอาจารย์มีชีย

    ขอขอบคุณที่ให้ความกรุณาในการตอบคำถามก่อนหน้านี้ หนูจะรบกวนถามเพิ่มเติม คือ

    1. การฟ้องขับไล่ ผู้ให้เช่าสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ หากเขาไปทำสัญญาไว้กับผู้อื่นแล้ว แต่เรายังไม่ย้ายออกจากบ้านเพราะยังติดกรณีพิพาทกันอยู่ และอยู่ในระหว่างการต่อสู้ในชั้นศาล

    2. คู่กรณีนี้ คือ คุณพ่อของดิฉัน ซึ่งหากฟ้องเรียกค่าเสียหายแล้วคุณพ่อไม่มีทรัพย์สมบัติใด ๆ ให้เรียกร้องได้ เพราะท่านอายุ 62 ปี มีแค่เพียงเบี้ยผู้สูงอายุเดือนละ 600 บาทที่ได้จากรัฐบาล ไม่ทราบว่ากรณีนี้เขาสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับลูก ๆ ได้หรือไม่ค่ะ

    3. กรณีฟ้องขับไล่ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าต้องจ่ายไป เช่น ค่าธรรมเนียมศาล , ค่าทนายความ เขาสามารถเรียกร้องคืนจากเราได้หรือไม่

    4. หากเข้าสู่กระบวนการชั้นศาลแล้ว และเราสามารถขยับขยายได้ประมาณเมษายน 2556 จะต้องทำอย่างไรเรื่องในศาลถึงจะสิ้นสุดลง เพราะไม่อยากให้เรื่องยืดยื้อไปมากกว่านี้ค่ะ สงสารคุณพ่อแกอายุมากแล้วต้องมาขึ้นศาลอีก

    ขอบคุณมากท่านอาจารย์มากค่ะ

     

    คำตอบ

    1. ถ้าทำให้เขาเสียหาย เขาก็ฟ้องได้เสมอ

    2. ฟ้องได้  ส่วนคนถูกฟ้องจะมีชดใช้เขาหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    3. ได้ แต่ไม่ได้ตามที่จ่ายจริง จะได้ตามที่ศาลกำหนดให้

    4. ก่อนจะออกไปก็ตกลงกับเขาเสียให้เรียบร้อยว่าถ้าเราออกไปดี ๆ เขาจะถอนฟ้องและยกค่าเสียหายให้เราหรือไม่  ซึ่งเขาน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าการฟ้องร้องกันต่อไป


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 ตุลาคม 2555