ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048725 อำนาจการเปรียบเทียบปรับตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ๒๕๒๒พ.ต.ท.วิชัย สระน้อย6 กุมภาพันธ์ 2556

    คำถาม
    อำนาจการเปรียบเทียบปรับตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ๒๕๒๒

    เรียน  อาจารย์มีชัยฯ
              กระผมมีข้อสงสัยเรื่องอำนาจการเปรียบเทียบปรับของ เจ้าพนักงานตำรวจ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๗ พ.ศ.๒๕๓๐  ซึ่งมีข้อกฎหมายดังนี้
              ๑ ความผิดตามมาตรา ๖๔ ขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตฯ   มีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน  ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท  
              ๒.ตามมาตรา ๖๗ ทวิ  ในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ โดยอธิบดีฯ เป็นผู้มอบอำนาจ
               ในทางปฏิบัติก็ยังมีพนักงานสอบสวน เปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๖๔ โดยอ้างว่า เป็นความผิดลหุโทษ จึงมีอำนาจ  แต่ตามมาตรา ๖๗ ทวิ ระบุว่าเฉพาะความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวเท่าน้น ที่ให้พนักงานสอบสวนเรียบเทียบได้ ตามประกาศของกรมการขนส่ง ที่มอบอำนาจให้เปรียบเทียบปรับได้
                กระผมจึงสงสัยว่า ความผิดตามมาตร ๖๔ ซึ่งมีโทษจำคุกด้วย และก็เป็นความผิดลหุโทษด้วย ดังนั้น พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจหรือไม่ประการใด
                                     ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

    คำตอบ

    พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามมาตรา ๓๗ ของ ป.วิ.อาญา เพราะโทษดังกล่าวเป็นลหุโทษ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 กุมภาพันธ์ 2556