ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048871 การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนายนิติธรรม แกล้วกล้า4 มีนาคม 2556

    คำถาม
    การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    กราบเรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพ  ผมขออนุญาตสอบถามอาจารย์ในฐานะผู้มีประสบการณ์ในด้านกฎหมายเป็นที่ประจักษ์ว่าอำนาจในการวินิจฉัยว่าเรื่องใดอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นของหน่วยงานใด เพราะบางครั้งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นก็ทำหน้าที่ตอบข้อหารือ บางครั้งก็กระทรวงมหาดไทย และบ่อยครั้งทีีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทักท้วงว่าการดำเนินการในบางเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยบอกว่าทำได้แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่าทำไม่ได้  ขอบพระคุณสำหรับคำตอบที่จะได้รับครับ

    คำตอบ
    งานราชการมีระบบการตรวจสอบติดตามเป็นชั้น ๆ ไป หน้าที่ใครมีอย่างไรก็ต้องทำไปตามนั้น องค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ  ในเรื่องระเบียบและข้อบังคับนั้น มีทั้งที่องค์กรปกครองท้องถิ่นออกเอง และที่กระทรวงมหาดไทยออกมาใช้บังคับ แต่ทุกหน่วยก็ต้องออกตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ จะออกเกินกว่านั้นไม่ได้ และต้องออกให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด  บางเรื่องกระทรวงมหาดไทยอาจจะใช้ความเคยชินที่เคยสั่งองค์กรปกครองท้องถิ่นได้ง่าย ๆ พอสั่งแล้วทุกคนก็ปฏิบัติตาม  แต่เมื่อมีคนอื่นมาตรวจสอบ ก็อาจพบว่าการสั่งการนั้นไม่ชอบ เพราะไม่มีอำนาจบ้าง หรือไม่ถูกต้องบ้าง  สิ่งที่นึกว่าทำได้ ก็เลยกลายเป็นทำไม่ได้  เช่น ถ้ากฎหมายกำหนดว่า การจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย  ๆ แทนที่จะออกระเบียบ ก็ออกเป็นหนังสือสั่งการ ซึ่งเป็นคนละอย่าง  การสั่งการอย่างนั้นจึงไม่สร้างอำนาจให้แก่ผู้ปฏิบัติที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องได้   ในระยะหลัง ผู้บริหารในกระทรวงมักจะมีภาระกิจในการติดตามการเมือง ต้องคอยเอาใจฝ่ายการเมือง จนไม่มีเวลาดูแลในเรื่องที่เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง  เรื่องจึงมักจะอยู่ที่คนระดับล่าง ๆ ที่จะทำเสนอขึ้นไป  เมื่อเสนอแล้วก็มักจะไม่ได้ดูรายละเอียด หรือคิดอ่านตามประสาของคนมีประสบการณ์ หากแต่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้ก่อประโยชน์โภคผลอะไร ก็มักจะปล่อย ๆ ไปตามที่ข้างล่างเสนอมา  หรือบางทีข้างล่างเสนอมาให้ปรับปรุงแก้ไข  ก็ไม่ได้ให้ความสนใจเพียงพอ  เรื่องจึงมักผิดพลาดเสมอ ๆ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 มีนาคม 2556